การศึกษาความแม่นตรงเชิงพยากรณ์ของแบบทดสอบวัดแววครูที่ใช้คัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีปีการศึกษา 2560

ผู้แต่ง

  • ชวนชัย เชื้อสาธุชน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ผศ.ดร.เชาวน์ประภา เชื้อสาธุชน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ผศ.ดร.ชูชีพ ประทุมเวียง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ผศ.ดร.อารี หลวงนา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ผศ.สุมลรัตน์ ไกรสรสวัสดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความแม่นตรงเชิงพยากรณ์, แบบทดสอบวัดแววครู, Student

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแม่นตรงเชิงพยากรณ์ของแบบทดสอบวัดแววครูที่ใช้คัดเลือกนักศึกษา  2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบคัดเลือกจากแบบทดสอบวัดแววครูกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษา และ 3) ค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี รุ่นที่ 8 จำนวน 120 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบทดสอบวัดแววครู จำนวน 1 ฉบับ ประกอบด้วย ข้อสอบวัดความสามารถด้านคำตรงข้าม ด้านศัพท์สัมพันธ์ ด้านความเข้าใจภาษา ด้านสังเคราะห์ข้อความ ด้านสรุปความ และด้านอุปมาอุปไมยภาษา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยคัดลอกผลการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ของผู้สำเร็จการศึกษา รุ่นที่ 8 จากสาขาวิชา วิชาชีพครู และคัดลอกระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรของผู้สำเร็จการศึกษาจากบัณฑิตวิทยาลัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า

            แบบทดสอบวัดแววครูที่ใช้คัดเลือกนักศึกษามีความแม่นตรงเชิงพยากรณ์ในระดับต่ำ ผลการสอบคัดเลือกจากแบบทดสอบวัดแววครูทั้ง 6 ด้าน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษาเท่ากับ .377 และตัวแปร พยากรณ์ที่ดีของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษามีเพียงตัวเดียว คือ ผลการสอบจากแบบทดสอบวัดแววครู ด้านสังเคราะห์ข้อความ

References

ศิริชัย กาญจนวาสี ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CLASSICAL TEST THEORY) พิมพ์ครั้งที่ 5กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 288 หน้า

ชวนชัย เชื้อสาธุชน เอกสารประกอบการสอน 1044201การสร้างแบบทดสอบวัดความถนัด ภาควิชาทดสอบและวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี 2541 132 หน้า

Ghiselli, Edwin E., Theory of Psychological Measurement, McGraw-Hill, Inc., N.Y., 1964, 408 p.

Hinkle, Dennis .E.Willian Wiersma and Stephen G. Jurs. Applied statistics for the behavioral sciences. 4th ed. New York : Houghton Mifflin, 1998.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01