การรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน ประโยชน์และความปลอดภัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้คลาวด์สตอเรจของผู้ใช้งาน

ผู้แต่ง

  • ณพวัฒน์ บุษบกแก้ว คณะบริหารธุกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐณิชา ณ นคร คณะบริหารธุกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน, การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้ถึงความปลอดภัย, การตัดสินใจเลือกใช้คลาวด์ สตอเรจ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้ความง่าย ประโยชน์ และความปลอดภัยในการใช้งานที่ส่งผลต่อการเลือกใช้คลาวด์ สตอเรจของผู้ใช้งาน โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นและความตรงเชิงเนื้อหาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้คลาวด์ สตอเรจ(Cloud Storage) จำนวน 400 ชุด พบว่า และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ ความถดถอยอย่างง่าย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 26-30 ปี โดยส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีอาชีพเป็นข้าราชการ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือ 15,000-25,000 บาท ความถี่ในการใช้บริการชำระเงินผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่จำนวน 2-10 ครั้งต่อเดือน และมีผู้ใช้เคยใช้ Google Drive มากที่สุด

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์การใช้งาน และปัจจัยด้านความปลอดภัย ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้คลาวด์สตอเรจของผู้ใช้งาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 นอกจากนี้ ปัจจัยการรับรู้ความปลอดภัยในการใช้งาน ส่งผลต่อการใช้งานที่มีผลต่อการเลือกใช้คลาวด์ สตอเรจ(Cloud Storage) มากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และปัจจัยการรับรู้ถึงความปลอดภัย ตามลำดับ โดยร่วมกันพยากรณ์การใช้บริการคลาวด์ สตอเรจ(Cloud Storage) ได้ร้อยละ 74 ที่เหลืออีกร้อยละ 26 เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรอื่น

References

กนกวรรณ ปัญญธนพัฒน์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ไทยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กฤษณ์ครินทร์ เฉวียงหงส์. (2558). พฤติกรรมการใช้บริการพื้นที่เก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆ.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จิรวัฒน์ วงศ์ธงชัย. (2555). ปัจจัยด้านการรับรู้ที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีบาร์โค้ดสองมิติ ของผู้ใช้งานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ฉัตราพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ณัฏฐ์ชิสา อัฐศักดิ์. (2558). ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนมทางออนไลน์ประเภทกระเป๋าและรองเท้าสุภาพสตรี. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.ทิศทางของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. (2552). Marketing Oops. สืบค้นจากnhttps://www.marketingoops.com/reports/internet-trend/.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). การกำหนดขนาดตัวอย่างและสถิติวิเคราะห์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ การนำเสนอผลงานวิจัยแห่งชาติ 2555. สืบค้นจาก http://www.nrct.go.th/index.php?
mod=contents&req=view&id=1495.

นันทวัฒน์ อินทรโยธิน. (2557). ปัจจัยในการเลือกซื้อนาฬิกาข้อมือผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Facebook ที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีและความตั้งใจซื้อ. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญา
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บงกช กิตติวาณิชยกุล. (2558). การรับรู้ประโยชน์ ความภักดีต่อตราสินค้า และความสนใจใช้บริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอพพลิเคชั่น Bugaboo. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญา
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พัดชา ตีระดิเรก. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการบริษัททัวร์นำเที่ยวของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วันทนีย์ มงคลทรัพย์กุล, อัญณิฐาดิษฐานนท์, อรพรรณ คงมาลัย และจันทร์จิรา นพคุณธรรมชาต. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ: กรณีศึกษาการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 39(1), 3-9.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2547). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บุญศิริ การพิมพ์.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สุพีเรีย พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สุกัญญา ละมุล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านกาแฟสดคาเฟ่อเมซอน. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Agarwal, R., & Prasad, J. (1999). Are differences germane to the acceptance of new information technologies?.Decision Sciences, 30(2), 361-391.

Bauer, R.A. (1960). Consumer behavior as risk-taking. In R.S. Hancock (Ed.), DynamicMarketing for a Changing World(pp. 389-398). Chicago: American Marketing
Association.

Bolisani, E., &Scarso, E. (1999). Information technology management: A knowledge basedperspective. Technovation, 19, 209-217.

Cooper, R.B., &Zmud, R.W. (1990). Information Technology Implementation Research: A technology diffusion approach. Management Science, 36(2), 123-139.

Davis, F.D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-339.

George, R. (2007). A TAM framework to evaluate user’s perception towards online electronic payment. Journal of Internet Banking and Commerce, 12(3).

Kim, S., & Park, H. (2013). Effects of various characteristics of social commerce (s-commerce) on consumers’ trust and trust performance. International Journal of Information Management, 33, 318-332.

Number of consumer cloud-based service users worldwide in 2013 and 2018 (in billions). (2018). Retrieved fromhttps://www.statista.com/statistics/321215/ global-consumer-cloud-computing-users/.the role ofintrinsic motivation. MIS Quarterly, 23, 239-260

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26