การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน โดยการสร้างชุมชนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ผู้แต่ง

  • Benjawan Srimarut Phranakhon Rajabhat University, Faculty of Education
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตรา ชนะกุล วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ดร.ชัชญาภา วัฒนธรรม วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน โดยการสร้างชุมชนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2561มา 1 หมู่เรียน จำนวน 26 คน ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 15 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้และ 2) แบบประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1.) องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน โดยการสร้างชุมชนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ประกอบด้วย 5  ด้าน ได้แก่หลักการวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การประเมินผลการเรียนรู้และคู่มือการใช้รูปแบบโดยมีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนคือ 1) ระบุปัญหา 2) วางแผนการทำโครงงาน 3) ลงปฏิบัติ4) ทบทวนการเรียนรู้ และ 5) นำเสนอผลงาน โดยในแต่ละขั้นจะมีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทุกขั้น 2.) การประเมินรูปแบบ พบว่า โดยภาพรวมรูปแบบมีความเหมาะสมมากที่สุด เมื่อเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบ และการประเมินผลการเรียนรู้ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ และคู่มือการใช้รูปแบบ มีความเหมาะสมมากที่สุด ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความเหมาะสมมาก 3.) การศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบ พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทั้งโดยรวมและรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

จอมสุรางค์ ลิมป์ ประเสริฐกุล. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบชุมชนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ดุษฎี โยเหลา และ คณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ : หจก. ทิพยวิสุทธิ์.

ทิศนา แขมมณี. (2548).รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. 2543. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สวัสดิวงศ์.

สิทธิ์สมบูรณ์ สุธรรมวงศ์. (2557). การศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) รายวิชา703 IM 433 ภูมิศาสตร์ ที
วิทยาลัยครูบ้านเกินสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการ พ.ศ. 25482551. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จํากัด.
Johnson,K.A.,and Foa,L.J. Instructional Design : New Alternatives for. Effective Education and Training. New York : Macmillan Publishing. Company, 1989.

Johnson, D.W. and Johnson, F.P. (2003). Joining Together:Group Theory and Group Skills. 7th Ed. New york. Peason Education.

Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of teaching. (7th ed.). Boston : Allyn and Bacon.

Thomas R. and Wang, Changhua. (1996). “Community-Based Learning: A Foundation for Meaningful Educational Reform.” Service Learning, General. Paper 37. [online] 1996 [cited 2010,May 3] Available from : http://digitalcommons.unomaha.edu/slceslgen/37

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26