การพัฒนาเว็บไซต์การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุตามแนวทางที่ทุกคนเข้าถึงได้ (WCAG) และหลักการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design)

ผู้แต่ง

  • ศิรินทร์ รอมาลี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ดร.ภัสสร สังข์ศรี คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, เว็บไซต์การท่องเที่ยว, แนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ WCAG Universal Design

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาเว็บไซต์การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ WCAG และ Universal Design2) เพื่อประเมินคุณภาพเว็บไซต์การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุตามแนวทาง WCAG และ Universal Design และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุตามแนวทาง WCAG และ Universal Designผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์สำหรับผู้สูงอายุ แนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ WCAG และ Universal Design และให้ผู้เชี่ยวชาญ ประเมินคุณภาพของสื่อจากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขและนำไปทดลองและประเมินความพึงพอใจกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาเว็บไซต์การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุตามแนวทางที่ทุกคนเข้าถึงได้ WCAG และ Universal Design จัดรูปแบบเหมือนกันทุกหน้าในเว็บไซต์ ออกแบบสีพื้นหลังเป็นสีอ่อน ลวดลายน้อย ชื่อลิงก์ (Link) บอกความหมายชัดเจน ปุ่มเมนูที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลใช้สีและขนาดที่มองเห็นชัด เนื้อหาและข้อความที่ไม่มากเกินไป รูปแบบอักษร (Font) มาตรฐาน รูปภาพที่ใช้มีความสอดคล้องกับเนื้อหา อยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่าย 2) การประเมินคุณภาพของเว็บไซต์การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุตามแนวทาง WCAG และ Universal Design โดยผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน อยู่ในระดับดี 3) การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานเว็บไซต์ของกลุ่มตัวอย่างด้านเนื้อหาข้อมูล ผลประเมินอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบและการจัดรูปแบบของเว็บไซต์ของกลุ่มตัวอย่าง ผลประเมินอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.37 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 และ ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานเว็บไซต์ของกลุ่มตัวอย่าง มีผลประเมินอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50

References

สถาบันวิจัยและพัฒนาผูสูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายไทย 2558 .กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล, 2559.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand) บทความวิชาการสํานักวิชาการ สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 3(16), น. 1, 2556.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นิยามสังคมผู้สูงอายุ. (ออนไลน์), 2557, จาก www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-01.html, (10 ตุลาคม 2562).

กวีพงษ์ เลิศวัชรา และคณะ. “การเรียนรู้เทคโนโลยีของผู้สูงอายุ,” วารสารออนไลน์ CITU Review, 1(2556), น. 1-7, 2556.

พจนีย์ จันทรศุภวงศ์. แนวโน้มการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์. วารสารนักบริหาร, 30(4), น. 130-135, 2553.

Social Media. จับตาไลฟ์สไตล์การใช้งานออนไลน์ของผู้สูงอายุ น่าสนใจไม่แพ้วัยทีน. (ออนไลน์), 2556, จาก http://thumbsup.in.th, (10 ตุลาคม 2562).

สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. แนวทางการพัฒนาเว็บที่ทุกคนเข้าถึงได้ TWCAG 2010. (ออนไลน์), [ม.ป.ป.], จาก www.mict.go.th/assets/portals/ 1/files/download/580324_th wcag2010.pdf, (10 ตุลาคม 2562).

MGR Online. ตลาดการท่องเที่ยวผู้สูงอายุเงินสะพัดร่วม 2 แสนล้านบาท. (ออนไลน์), 2560, จาก www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9600000, (10 ตุลาคม 2562).

อาคีรา ราชเวียง. การโฆษณาออนไลน์ด้านการท่องเที่ยวเพื่อกลุ่มผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), น. 119, 2560.

บริษัท นายน์เอ็กซ์เพิร์ท จำกัด. Universal Design คืออะไร. (ออนไลน์), 2559, จาก www.thaiweb accessibility.com/articles/universal-design-คืออะไร, (10 ตุลาคม 2562).

ธราธร ดวงแก้ว และหรัญญา เดชอุดม. พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์พยาบาลศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทลัยมหิดล, 2550.

ปิติสัณห์ อิทพิชัย และทิพยา จินตโกวิท. การพัฒนาแนวทางการออกแบบเว็บไซต์ด้านการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ, วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 9(1)‬, น. 1-9, 2561‬.

ดวงใจ หนูเล็ก และ ทิพยา จินตโกวิท. การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อสุขภาพตามแนวทาง TWCAG 2010 สำหรับผู้สูงอายุ. การประชุมวิชาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแห่งชาติครั้งที่ 10, 2557.

บริษัท นายน์เอ็กซ์เพิร์ท จำกัด. 10 ขั้นตอน การทำ Web Accessibility. (ออนไลน์). [ม.ป.ป.], จาก www.9experttraining.com, (11 ตุลาคม 2562).

ณัฐกานต์ บุญรอด และทิพยา จินตโกวิท. แนวทางในการออกแบบการสร้างเนื้อหาบนเว็บไซต์สำหรับผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26