คุณภาพชีวิตในการทำงานและคุณลักษณะของงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารของรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วัชรพงษ์ อนันต์วรปัญญา สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพชรรัตน์ วิริยะสืบพงศ์ สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ดร.ปนัดดา จั่นเพชร คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความผูกพันต่อองค์กร, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, คุณลักษณะของงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารและเพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานและคุณลักษณะของงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานธนาคารของรัฐแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานครโดยแบ่งเป็นพนักงานประจำ 175 คน และลูกจ้าง 135 คน โดยเก็บแบบสอบถาม จำนวน 310 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อใช้ในการทดสอบสมมติฐาน

            ผลการศึกษาพบว่าระดับความคิดเห็นของพนักงานธนาคารที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และผลการทดสอบสมมติฐานทั้ง 2 ข้อพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลในทางบวกต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ คุณลักษณะของงานมีอิทธิพลในทางบวกต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กรรณิการ์ สุวรรณศรี. (2559). รายวิชา 9011106 การบริหารทรัพยากรมนุษย์. นครปฐม: โปรแกรม วิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

เกศริน ป่งกวาน. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีและแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพัน ต่อองค์กรของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทิพย์สุคนธ์ จงรักษ์. (2556). อิทธิพลของคุณลักษณะงานที่มีผลตอความผูกพันต่อองค์กรความพึงพอใจในงานและพฤติกรรมการ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัย ราชมงคลธัญบุรี

ทศพร จิรกิจวิบูลย์.(2556). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานและแนวทางในการปฏิบัติงานที่ดีที่มีผลต่อการสร้างแรงจูงใจต่อ พนักงานระดับปฏิบัติการในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครจังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

พิมพ์จันทร์ บัณฑรพงศ์. (2555). ปัจจัยลักษณะงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยพะเยา. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยพะเยา

พรชัย ชุนหจินดา. (2560). ฟินเทค (FinTech) เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศไทย4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิง นวัตกรรม, 7(1), 1-23.

อาฐิติกุล เจริญกุล. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) เขตแจ้งวัฒนะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประกอบการ, บัณฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Leech, N. L., Barrett, K. C., & Morgan, G. A. (2005). SPSS for intermediate statistics: Use and interpretation. Psychology Press.

Peterson,R.A. (1994). A meta-analysis of Cronbach's coefficient alpha. Journal of consumer research, 21(2), 381-391.

Werther Jr, W. B., & Davis, K. (1985). Personnel management and human resources. 2^nded.).New York: McGraw-Hill.

Van Dyne, L., Graham, J. W., & Dienesch, R. M. (1994). Organizationalcitizenship behavior: Construct redefinition, measurement, and validation. Academy of management Journal, 37(4), 765-802.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26