ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การซ่อมบำรุง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ พันธุ์ทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระ สาธุพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เชิงคุณภาพ, ประสิทธิภาพ, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การซ่อมบำรุง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี2) เพื่อหาประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การซ่อมบำรุง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชาภัฏอุบลราชธานีประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน 2)บุคลากรของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีจำนวน 20 คนเครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบ่งออกเป็น 3 ตอนประกอบด้วย 1) วิธีการทดสอบระบบโดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทดสอบระบบ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบสำหรับผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อะบบโดยบุคลากรของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโปรแกรม มีลักษณะเป็นแบบปลายเปิด (Open-ended form) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์การยอมรับประสิทธิภาพของระบบ พิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยแบบประเมินระบบของผู้เชี่ยวชาญ

               ผลการวิจัยพบว่า 1.) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การซ่อมบำรุง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีมีค่าเฉลี่ยเชิงปริมาณ (= 4.43) และผลการประเมินเชิงคุณภาพ เป็นระบบงานที่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี 2.) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การซ่อมบำรุง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี (= 4.38) จากการทดสอบและประเมินประสิทธิภาพ สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การซ่อมบำรุง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีมีค่าเฉลี่ยเชิงปริมาณ 4.43 และผลการประเมินเชิงคุณภาพอยู่ในระดับดี เป็นระบบงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการงานในงานซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์และบริหารจัดการสารสนเทศที่เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีได้

References

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. คัมภีร์ระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์, 2546. คณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. ม.ป.ป.

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และจำลอง ครูอุสาหะ. การออกแบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ: ไทยเจริญ, 2550.

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. รายงานการประเมินตนเอง 2559. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราขธานี, 2559.

จิรัฏฐ์ ธนัทชัยวัฒน์. ระบบบริหารจัดการ การซ่อมบำรุงของฝ่ายธุรการ กรณีศึกษาของบริษัทเดอะบาร์บีคิวพลาซ่า จำกัด. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, 2553.

ชาตรี คงสมบูรณ์. ระบบแจ้งซ่อมคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บสำหรับภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2551.

บังอร โสฬร. สถิติเบื้องต้นสำหรับงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์, 2554.

บรรจง หะรังษี และพิเชษฐ์ สารภาค. “การบริหารและจัดการ Help Desk ตอนที่ 2,”สาร NECTEC. 37 (2543): 25-31.

ปรุงศักดิ์ อัตพุฒ,วีระตุลาสมบัติ (การประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5:2559:บทคัดย่อ) แนวทางการพัฒนาระบบการเบิกจ่ายวัสดุอุปกรณ์ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

พรพรรณ ศรีประสงค์ การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ. (ออนไลน์) 2555 (อ้างเมื่อ 30 มกราคม 2560). จาก: https://www.gotoknow.org/posts/486362

พิรุฬห์ เดชะเทศ. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานสารบรรณ. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณพิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้านครเหนือ, 2549.

พิชัย เหลืองอรุณ. ความหมายของระบบสารสนเทศ. (ออนไลน์) 2558 (อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2558). จาก http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/
pichail/it01/itsystem.htm

ภรัณยา อำฤครัตน์และอภินันท์ จุ่นกรณ์. การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้ สกอ. สมศ และก.พ.ร. กรุงเทพฯ : มป.พ, 2551.

รัชฎาภรณ์ ชะนุนันท์, เสริมศักดิ์ศรีชัยและยศไกร เมืองนาค. Web Programming ด้วยDreamwever MX และ PHP. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอน ซัลท์, 2546.

ระวีวรรณ พรรณราย. ระบบแจ้งซ่อมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ของวิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่. สารนิพนธ์ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่, 2551.

วราภรณ์ บุตตะคาม. ระบบสารสนเทศสำหรับงานอาจารย์ที่ปรึกษา กรณีศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2555.

วิศรุต เพชรจรัส. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดอาจารย์ทีปรึกษาทางวิชาการสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554.

วันชนะ พรหมทอง.ระบบการแจ้งซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2553.

ศุภณัฐ พิลึกและสุรเชษฐ์ เศรษฐา. ระบบจัดจำหน่ายผ้าไหมออนไลน์ กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองหนองข่า.โครงงานเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจระดับปริญญาตรีสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2558.

เอกชัย เจริญนิตย์.เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: พัฒนาวิชาการ (2535), 2547.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. ระบบฐานข้อมูล.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2545.

Jonson-Reid, Melissa Kontak Dot and Mueller Sandra. “Developing a Management Information System for School Social Worker : A Field-University Partnership,” Social Word in Education. 23, 4 (October 2001): 198-211.

Watson, I. Applying Case Base Reasoning,Techinques for Enterprise Systems. Sanfancisco: Morgan Kaufmann, Inc., 1997.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26