ระบบบริหารงานทะเบียนโรงเรียนบ้านธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา พรมผิว สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา,คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อุดมเดช ทาระหอม คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวัฒน์ บรรลือ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ระบบบริหาร, งานทะเบียน, การพัฒนาระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาระบบบริหารงานทะเบียนโรงเรียนบ้านธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 (2) เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบบริหารงานทะเบียนโรงเรียนบ้านธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้ระบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 คน และผู้ใช้งานระบบ คือ กลุ่มผู้อำนวยการโรงเรียน บุคลากรครูและเจ้าหน้าที่ธุรการ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบ่งออกเป็น4 ตอนประกอบด้วย1) ด้านการประเมินความถูกต้องและประสิทธิภาพของโปรแกรมว่าตรงตามความต้องการของผู้ใช้ 2) ด้านการประเมินความถูกต้องและประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรมว่าสามารถทำงานได้ตามฟังก์ชันของโปรแกรม 3) ด้านการประเมินลักษณะการออกแบบโปรแกรมว่ามีความง่ายต่อการใช้งานและ 4) ด้านการประเมินด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

            ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาระบบบริหารงานทะเบียนโรงเรียนบ้านธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 มีความสามารถในการจัดการข้อมูลผู้ใช้ระบบและการกำหนดสิทธิผู้ใช้งาน การจัดการโครงสร้างข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน การจัดการข้อมูลทะเบียนนักเรียน การจัดการข้อมูลในการเช็ดชื่อการมาเรียน ขาดลาป่วยของนักเรียน การจัดการข้อมูลการรายวิชา การจัดการข้อมูลผลคะแนนและผลงานของนักเรียน การจัดการข้อมูลการเยี่ยมบ้านนักเรียน การจัดเก็บข้อมูลเอกสารของโรงเรียน การจัดการข้อมูลข่าวประกาศ ให้สอดคล้องกับการทำงาน 2)ผลการศึกษาประสิทธิภาพของการพัฒนาระบบบริหารงานทะเบียนโรงเรียนบ้านธาตุ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 โดยการหาประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จึงทำให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับระบบ ซึ่งใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีผลการประเมินประสิทธิภาพโดยรวมของโปรแกรมมีค่าเฉลี่ย 4.11 และมีค่าคะแนนเบี่ยงเบนไปจากเฉลี่ย 0.43 เป็นระบบงานที่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี

References

คมสันต์ รีตานนท์. (2550) การพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.

มานพ สุวรรณกูฎ. (2551). ระบบบูรณาการสารสนเทศจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายโดยใช้แบบจำลององค์ประกอบเว็บเซอร์วิส. การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี
สารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมคิด นามสิงหา. (2560) การพัฒนาระบบสารสนเทศงานทะเบียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกวรรณ.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

แสงเพ็ชร พระฉาย. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ ศึกษาบัณฑิต วิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อรนัน หินอ่อน. (2560) การพัฒนาระบบสารสนเทศงานวิชาการระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน,วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26