ผลของการนวดไทยราชสำนักในการรักษาโรคอัมพาตใบหน้าแบบเบลล์
คำสำคัญ:
อัมพาตใบหน้าแบบเบลล์, การนวดไทยราชสำนัก, กล้ามเนื้อใบหน้าบทคัดย่อ
อัมพาตใบหน้าแบบเบลล์เป็นความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่7 ซึ่งมีหน้าที่สั่งการไปยังกล้ามเนื้อใบหน้าให้เกิดสีหน้าต่างๆ รับรู้และรสชาติบริเวณ2/3ส่วนหน้าของลิ้น ทำให้ผู้ที่เป็นอัมพาตใบหน้าแบบเบลล์ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าและสูญเสียการรับรู้รสชาติส่วนปลายของลิ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) one group pre – post test มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อใบหน้าในผู้ป่วยอัมพาตใบหน้าแบบเบลล์โดยใช้การนวดไทยราชสำนักในการรักษาของผู้มารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขการแพทย์แผนไทยและการแพทย์บูรณาการ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกผู้ป่วยอัมพาตใบหน้าแบบเบลล์ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าได้ จำนวนทั้งสิ้น 10 คน เปรียบเทียบก่อนและหลังนวด เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และการตรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า paired – simples T – test
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความฟื้นตัวของกล้ามเนื้อใบหน้าของผู้ป่วยอัมพาตใบหน้าแบบเบลล์หลังจากได้รับการนวดรักษาแบบราชสำนักสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหลับตา กล้ามเนื้อที่ใช้ในการยิ้ม และกล้ามเนื้อที่ใช้ในการย่นจมูกหรือทำจมูกบานสามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 ส่วนกล้ามเนื้อที่ใช้ในการยักคิ้วหรือย่นหน้าผากสามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p <0.01 และกล้ามเนื้อที่ใช้ในการห่อปากหรือดูดน้ำสามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = 0.001
References
คณาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์, คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล (2552). ตำรากายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ : ศุภวนิชการพิมพ์.
ธีรดา ภิญโญและอดิศัย โทวิชา. (2552). สถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี :หจก.เฟิร์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยา. (2555). หัตถเวชกรรมไทย (นวดแบบราชสำนัก). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อุษาการพิมพ์.
พรชัย สถิรปัญญา. (2545, กรกฎาคม-กันยายน). โรคอัมพาตใบหน้าแบบเบลล์: แนวคิดปัจจุบันเกี่ยวกับกลไกการเกิดโรค การรักษาและการพยากรณ์โรค. สงขลานครินทร์เวชสาร. 20(3),21-232
ฉันทนา ลือขจรชัย และ ดุจใจ ชัยวานิชศรี. (สิงหาคม 2549). การฟื้นศึกษาการฟื้นตัวของอัมพาตใบหน้าภายหลังได้รับโปรแกรมทางกายภาพบำบัด. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 50(8),581-598
Chee, G.H., &Nedzeski, J. N. (2000). Facial nerve grading systems. Facial Plast Surg, 16(4), 315-32
Donald, H. G., & Kenneth, L. T. (2007). Bell’s Palsy- Is Glucocorticoid Treatment Enough?. The New England journal of Medicine,357: 1598-1605, 1653-
1655.
Hauser WA, Karnes WE, Annis J, Kurland LT. (1971). Incidence and prognosis of Bell’s palsy in population of Rochester, Minesota.Mayo Clin Proc; 46: 258-
264.
Peiterson, E. (2002). Bell’s palsy: the spontaneous course of 2,500 peripheral facial nerve palsies of Different etiologies. Acta Otolaryngol Suppl, 549, 4-30.
Friedman RA. The surgical management of Bell’s palsy:a review. Am J Otol2000; 21: 139-144
Hyden D, Sandstedt P, Odkvist LM. (1982). Prognosis in Bell’s palsy based on symptoms, signs and laboratory data. Acta Otolaryngol; 93: 407–414.