ประสิทธิผลของการนวดแบบราชสำนักต่อการรักษาโรคลมปะกัง
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, นวดไทยแบบราชสำนัก, ปวดศีรษะจากลมปะกังบทคัดย่อ
โรคลมปะกังหรือลมตะกังทางการแพทย์แผนไทย มีลักษณะเฉพาะตัวที่สำคัญคือ อาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือปวดสลับข้างกันในแต่ละครั้ง และอาจปวดทั้งสองข้างก็ได้ ลักษณะอาการปวดมักปวดแบบตุ๊บๆ เป็นระยะ ๆ แต่มีบางคราวที่ปวดแบบตื้อ ๆ ลักษณะอาการดังกล่าวคล้ายกับโรคไมเกรนหรืออาการปวดศีรษะแบบไมเกรนในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนวดแบบราชสำนักต่อการรักษาโรคลมปะกังกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research) ในอาสาสมัครผู้ป่วยโรคลมปะกังที่มีอาการปวดศีรษะ จำนวน 30 ราย ด้วยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง(Purposive Sampling)จะได้รับการนวดแบบราชสำนัก โดยแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ครั้งละ 45 นาที ทำการรักษา 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และได้รับการประเมินระดับความปวดก่อนและหลังนวดทุกครั้ง
ผลที่ได้จากการศึกษานำไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพรรณนาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ด้วยค่า Paired T –test พบว่า อาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 83.3 มีอายุอยู่ในช่วง 18-28 ปี ระดับความปวดเฉลี่ยก่อนนวด เท่ากับ 5.63±0.72 หลังจากนวดตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึง 3 ระดับความปวดเฉลี่ยลดลงในทุกครั้งเมื่อเทียบกับครั้งก่อนหน้า และพบว่าระดับความปวดเฉลี่ยในครั้งที่ 3 เท่ากับ 2.03±0.56 ซึ่งแตกต่างจากก่อนเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.001) จากผลระดับความปวดที่ลดลง การนวดไทยแบบราชสำนักสามารถบรรเทา รักษา ผู้ป่วยโรคลมปะกังที่มีอาการปวดศีรษะได้ ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการสนับสนุนการเลือกใช้การนวดไทยแบบราชสำนัก ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการรักษาทางคลินิกสืบไป
References
กัมมันต์ พันธุมจินดา และจิตร สิทธิอมร. (2532).Prevalence and clinical features of migraine : a community survey in Bangkok, Thailand. Headache. 29 : 594-597.
กัมมันต์ พันธุมจินดา และภิรมย์ กมลรัตนกุล. (2543).Prevalence of primary headache in central region of Thailand: a cross-sectional survey. Bull Neurol Soc Thai. 16 (suppl 1) : 12-13.
กัมมันต์ พันธุมจินดา. (2548). แนวทางการรักษาโรคไมเกรน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
ชาธิปัตย์ เครือพานิชย์ , อุไรวรรณ ชัชวาล , วิชัย อึงพินิจพงศ์ และกรรณิการ์ คงบุญเกียรติ. (2554). ผลแบบทันทีของการนวดไทยในการบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยปวดศีรษะจากความเครียดแบบ Episodic tension-type headache. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 23(1), 57-70.
พิริยะ สุ่มมูล,ทวีชัย นิยมรัตนเลิส,อุเทน มุกเย และศุภวัฒน์สายพานิช. (2560). การศึกษาการระบาดโรคไมเกรนของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2560.การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ.
เพชรไพลิน พงษ์บริบูรณ์. (2562). ไมเกรน: 3 มิติ(Migraine: 3D). วารสารวิชาการเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.[อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2561]. เข้าถึงได้จาก
https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=645
ภัสราภรณ์ จวบบุญ. (2561). ผลของการนวดต่ออาการปวดศีรษะแบบไมเกรนในผู้ป่วยโรคไมเกรน.การนำเสนอผลงานวิชาการมหกรรมวิชาการสาธารณสุขสาธารณสุขของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.
มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์แผนไทยเดิม สมาคมแพทย์อายุรเวท แพทย์แผนไทยประยุกต์แห่งประเทศไทย. (2542). ตำราหัตถเวชกรรมแผนไทย(นวดแบบราชสำนัก).กรุงเทพฯ:ศุภวนิชการพิมพ์
รังสรรค์ ชัยเสวิกุล. (2560).โรคไมเกรน.สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561: จาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/105_1.pdf
โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์มหาวิทยาลัยมหิดลคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2557). หัตถเวชกรรมแผนไทย (การนวดไทยแบบราชสำนัก) : ตอนที่ 1 : การนวดพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์.
โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2557). หัตถเวชกรรมแผนไทย (การนวดไทยแบบราชสำนัก) : ตอนที่ 2 : การนวดจุดสัญญาณ (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์.
สุรเกียรติอาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไปเล่ม 2 : 350 โรคกับการดูแลรักษาและการป้องกัน(พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.
สุภารัตน์ สุขโทและนภาพร เจริญยิ่ง. (2555). ผลระยะสั้นของการนวดไทยในการบรรเทาอาการปวดความถี่และระยะเวลาของอาการปวดศีรษะจากความเครียดแบบเรื้อรังคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.วารสารหมอยาไทยวิจัย,1(2),17-26.
อิทธิพล ตาอุด. (2557). ประสิทธิผลการนวดไทยสายราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพร ต่อการลดความเจ็บปวดของโรคลมตะกังหรือโรคไมเกรน (Migraine). การประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข.
Göbel H, Petersen-Braun M,Soyka D. The epidemiologyof headache in Germany: a nationwide surveyof a representative sample on the basic of the headache classification of the International Headache Society. Cephalalgia 1994;14:97-106.
Lawler, S.P. (2004). The therapeutic effect of massage on coping with stress andmigraine : Self-regulatory. Thesis in partial fulfillment of the require perspectivefor the degree of doctor of philosophy, Theuniversity of Auckland.
Lipton RB1, Scher AI, Kolodner K, Liberman J, Steiner TJ, Stewart WF. Migraine in the United States: epidemiology and patterns of health care use. Neurology. 2002;58:885-894.
Melzack, R., and Wall, P.D. 1965. Pain mechanism: A new theory. Science 150: 971-978.
Watt-Watson, J.H. 1999. Pain and control. In W.J. Phipps, J.K. Sand, & J.F. Marek (Eds).Medical-surgical nursing: Concepts & clinical practice (6thEd.) (pp.321-346). St.Louis: Mosby.