ผลการนวดรักษาโรคลมปะกังในคัมภีร์แผนนวดตามแบบแผนวังสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • พิกุลแก้ว หอมหวล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • สรรใจ แสงวิเชียร มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ศุภะลักษณ์ ฟักคำ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การนวดรักษา, โรคลมปะกัง, วังสวนสุนันทา

บทคัดย่อ

การนวดศาสตร์และศิลป์ที่มีมาแต่สมัยโบราณกาล มีบทบาทในการบำบัดรักษาอาการหรือโรค ในโรคลมชนิดหนึ่งคือโรคลมปะกัง ซึ่งเทียบเคียงคล้ายอาการไมเกรน ใช้การนวดราชสำนักตามแบบแผนวังสวนสุนันทาวันเว้นวัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการนวดแบบวันเว้นวันในกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยใช้แบบประเมินความเจ็บปวด แบบวัดความแข็งของเนื้อเยื่อและความทนต่อแรงกดความเจ็บปวด (Tissue Hardness Meter and Algometer) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติ Two group Pretest-Posttest Design

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 (10 คน): นวดวันละ 3 ครั้ง รวม 9 ครั้ง 1.)ความเจ็บปวดก่อนและหลังการรักษา ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 2.)ความแข็งของเนื้อเยื่อ อ่อนลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 3.)ความทนต่อแรงกดความเจ็บปวดก่อนและหลังการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.001 4.)ในการนวดครั้งที่ 1 ครั้งที 5 และครั้งที่ 9 ก่อนการรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 5.) ในการนวดครั้งที่ 1 ครั้งที 5 และครั้งที่ 9 หลังการรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 กลุ่มทดลองที่ 2 (22 คน): นวดวันละครั้ง รวม 3 ครั้ง 1.) ความเจ็บปวดก่อนและหลังการรักษา ทั้ง3 ครั้งไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2.) ความแข็งของเนื้อเยื่อ ก่อนและหลังการรักษาในครั้งที่ 1 และ 2 อ่อนลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 แต่ในครั้งที่ 3 ไม่อ่อนลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.) ความทนต่อแรงกดความเจ็บปวด ก่อนและหลังในครั้งที่ 1 และ 2เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 แต่ในครั้งที่ 3 ไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4.) ในการนวดครั้งที่ 1 ครั้งที 2 และครั้งที่ 3 ก่อนการรักษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5.)ในการนวดครั้งที่ 1 ครั้งที 2 และครั้งที่ 3 หลังการรักษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 นอกจากนี้กลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม มีความพึงพอใจในประสิทธิผลของการนวดตามแบบแผนวังสวนสุนันทาในระดับมากที่สุด (x̄ =4.91 S.D. = 0.17) และ(x̄ =4.81 S.D. = 0.23)

References

ชาลี เอี่ยมกระสินธุ์. (2539). ในราชสำนักสยาม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คอมแพคท์พริ้นท์.หน้า 99

กัณฑาทิพย์ สิงหะเนติ. (2549). ย้อนรอยเจ้าจอมก๊กออ ในรัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.หน้า 265

กิ่งแก้ว แจ้งสวัสดิ์.พัฒนาการนวดไทยเพื่อสุขภาพตามแบบแผนวังสวนสุนันทา.การประชุมสวนสุนันทาวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 การวิจัยและการพัฒนาที่ยั่งยืน 2560;หน้า 1-2 กองบรรณาธิการ HONESTDOCS (2562) ไมเกรน (Migraine) สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2562 จากhttps://www.honestdocs.co/what-is-migraine

โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล (2560) ปวดศีรษะไมเกรน สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2562 จาก https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/migraine -headache

กรมสุขภาพจิต (2561) ปวดหัวไมเกรนแบบไหนเสี่ยงเส้นโลหิตสมองตีบมากที่สุด สืบค้นเมื่อ17มิถุนายน 2562 จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=27611

ศิริราชออนไลน์ (2553) บทความสุขภาพไมเกรน สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2562 จาก https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=105

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26