อิทธิพลของกลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคม ปัจจัยด้านตนเอง ครอบครัว และสังคมที่ส่งผลต่อทัศนคติหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ของกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่

ผู้แต่ง

  • วรัญญา เทวรินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงสินถาวร มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การตลาดเพื่อสังคม, ทัศนคติหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่, กลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของทัศนคติหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ของกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่ ศึกษาระดับของปัจจัยต่าง ๆ และอิทธิพลของปัจจัยด้านกลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคม ตนเอง ครอบครัว และสังคมที่ส่งผลต่อทัศนคติหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ของกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่ ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มวัยรุ่นจำนวน 384 คน ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ และกำลังศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความสะดวก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า มีตัวแปรอิสระ 2 ตัว ที่จัดอยู่ในปัจจัยด้านตนเอง ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และความสามารถในการปฏิเสธเพื่อหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อทัศนคติหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ของกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กองบรรณาธิการHD. 2560. สูบบุหรี่ช่วยคลายเครียดได้จริงหรือไม่ เครียดแล้วทำไมต้องสูบ. สืบค้นเมื่อ19 มกราคม 2563, สืบค้นจาก https://www.honestdocs.co/cigarette-and-stress.

ใจชื่น ตะเภาพงษ์. (2550). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนในช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปทุมวัน(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จรุณรักษ์ ยี่ภู่. (2561). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ ลด ละ เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่สาหรับยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 8(1), 131-146.

พิริยา เชียนวิชัย. (2558). การศึกษาปัจจัยความผูกพันทางสังคมและการคบหาสมาคมที่แตกต่างที่มีผลต่อการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยบริการ, 26(2), 61-73.

พรทิพย์บุญนิพัทธ์. (2531). ทัศนคติ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ณัฐพัฒน์ ชยาวิวัฒนาวงศ์.(2553).พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาชายมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี(รายงานการวิจัย).มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐวุธ แก้วสุทธา, ภัทร อันชื่น, พีร์ สมสวย และนันท์ชนก วีรกุล. (2560). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิเสธบุหรี่เชิงบวกในงานทันตกรรมโรงเรียนระดับประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์),9(17), 53-68.

นริศรา เจริญพันธุ์. (2552). ผลกระทบของการขึ้นภาษีบุหรี่ต่ออุปสงค์ยาเส้น.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์ และฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2560). ผลิตภัณฑ์ยาสูบ : นโยบายและมาตรการควบคุมเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

ศศิธร ชิดยานี และวราภรณท ยศทวี. (2561, มกราคม-มิถุนายน). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ, 10(1), 83-93.

สุนิสา ถาวรวงศ์สกุล. (2553). ประสิทธิผลของภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ที่มีต่ออารมณ์ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้สูบบุหรี่. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์, คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรีรัตน์ เวียงกมล, พรนภา หอมสินธุ์ และรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. (2560). ต้นทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ระยะแรกของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(2), 91-108.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560(รายงานการวิจัย). กองสถิติสังคมสำนักงานสถิติแห่งชาติ.

เสาวลักษณ์ มเหศวร. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทดลองสูบบุหรี่ของนักศึกษาอาชีวศึกษาหญิงจังหวัดฉะเชิงเทรา.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เรณู บุญจันทร์, รัชนี กิติพงษ์ศาล และนพวรรณ เลิศการณ์. (2552). พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน จังหวัดระนอง (รายงานการวิจัย). สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, นฤมล เอื้อมณีกูล และสุนีย์ ละกำปั่น. (2560). การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น : แนวคิด และการจัดการหลายระดับ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

Bandura, A. (1977). Social learning theory. New Jersey: Prentice-Hall.

World Health Organize. (2009). WHO Report on the Global Tobacco Epidemic: Implementing smoke-free Environment (Report). World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26