การศึกษาผลของยาพอกสมุนไพรต่อการรักษาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • สุพัตราพร คุ้มทรัพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ยงยุทธ วัชรดุลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ผศ.ดร.ศุภะลักษณ์ ฟักคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ยาพอกสมุนไพร, ผู้สูงอายุ, โรคข้อเข่าเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลของยาพอกสมุนไพรต่อการรักษาอาการปวดในโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีโดยใช้สมุนไพรที่มีในท้องถิ่นทำเป็นยาพอกข้อเข่าตามแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน การพอกยาสมุนไพรต่ออาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อม มีอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ 32 คน มีอายุตั้งแต่ 60 ถึง 80 ปีมี อายุค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 71.13 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อนละ 78.1 ข้อมูลด้านความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) พบคะแนนเฉลี่ยที่ 30.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 5.699 หลังการทดลอง พบ ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) พบคะแนนเฉลี่ยที่ 40.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 5.097 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P - value) 0.05 ค่าความปวดของ วิช่วลเรตติ้งสเกลส์ (Visual rating scales:VRS) ก่อนการทดลอง พบ ระดับคะแนนเฉลี่ยที่ 5.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.786 ระดับความปวดข้อเข่าหลังการทดลอง พบ ระดับคะแนนเฉลี่ยที่ 2.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 1.571 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P - value) 0.05

ผลการทดลองนี้พบว่าหลังการพอกยาสมุนไพรสามารถลดอาการปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมให้กลุ่มผู้สูงอายุได้ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แสดงให้ทราบว่าการพอกยาสมุนไพรในครั้งนี้เป็นทางเลือกในการรักษาอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม

References

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (ม.ป.ป.). พริกไทย. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 15, 2561, จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_06_5.htm

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (ม.ป.ป.). ขิง. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 15, 2561, จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_11_1.htm

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (ม.ป.ป.). ไพล. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 15, 2561, จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_06_6.htm

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (ม.ป.ป.). ว่านน้ำ. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 15, 2561, จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_06_9.htm

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ม.ป.ป.). พริกไทย. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 15, 2561, จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=91

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ม.ป.ป.). ขิง. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 15, 2561, จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=187

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ม.ป.ป.). ไพล. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 15, 2561, จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=96

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ม.ป.ป.). กระเทียม. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 15, 2561, จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=8

ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (ม.ป.ป.). ว่านน้ำ. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 15, 2561, จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=124

วรรณภา ศรีธัญรัตน์,ผองพรรณ อรุณแสงและประเสริฐ อัสสันตชัย. (2553). การทบทวน และสังเคราะห์องค์ความรู้ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2545-2550.ใน ชื่นตา วิชชาวุธ (บรรณาธิการ) ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุไทยและบริการสุขภาพ สําหรับผู้สูงอายุไทย.(หน้า 63-137). กรุงเทพฯ: คิว พี.

วันเพ็ญ เพ็ญศิริ,อุรินทร์ เขมฤกษ์อําพล,สุจรรยา ทังทอง,พะยอม ศรีกงพลี,จิตรา มณีวงษ์,สุรีย์พร ศรีน้อย.(2548).สภาวะสุขภาพและ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุจังหวัด ขอนแก่น. (รายงานการวิจัย).ขอนแก่น: สมาคมแม่บ้านสาธารณสุข.

Durham, C. O.,Fowler,T., &Edlund,B. (2014). Managing kneeosteoarthritisinolderadults. American Nurse Today, 9(7). Retrieved from http://www.americannursetoday.com/manageing-knee- osteoarthritis-in-older-adults/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26