การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาโรค หละ ละอองซางในเด็ก

ผู้แต่ง

  • เกษรินทร์ เจริญสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศาสตราจารย์(พิเศษ)นายแพทย์สรรใจ แสงวิเชียร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ผศ.ดร.ศุภะลักษณ์ ฟักคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

หมอพื้นบ้าน, ภูมิปัญญา, โรคหละ ละออง ซาง

บทคัดย่อ

การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคหละ ละอองซางในเด็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการตรวจ วินิจฉัยและการใช้ยาสมุนไพรและรวบรวมตำรายาสมุนไพรของหมอพื้นบ้าน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Descriptive research)  ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น หมอพื้นบ้านที่ความรู้ความชำนาญมีประสบการณ์ในการรักษาโรคเด็ก หละ ละออง ซาง ซึ่งเป็นผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพ ประเภท ก หรือ ค โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 4 ราย

ผลวิจัยพบว่า จากการศึกษาพบว่าหมอพื้นบ้าน มีอายุตั้งแต่ 68-84 ปี และมีประสบการณ์มากว่า20 ปีขึ้นไป เหตุจูงใจสําคัญที่ทําให้มาเป็นหมอพื้นบ้านและลักษณะความรู้ที่ได้รับมาจากการสืบทอดจากบรรพบุรุษและเริ่มจากความสนใจ การสังเกต ประสบการณ์จากครูบาอาจารย์ จากตําราที่หมอพื้นได้รับจากการสืบทอดมาและยังเพิ่มเติมจากสมาคมการแพทย์แผนไทยจังหวัดกระบี่ หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าโรคหละ ละอองซาง เกิดจากแม่ เพราะน้ำนมไม่ดีและอิทธิพลของธรรมชาติจึงทำให้เกิดโรคอาการส่วนใหญ่จะมีแผลในปาก ปากเปื่อย ออกเม็ดออกผื่นตามร่างกาย บางก็ท้องเสีย ท้องผูก ปวดบิดถ่ายเป็นมูกเลือด หมอพื้นบ้านส่วนใหญ่จะใช้หลักการรักษาโรคของแบบสังเกตอาการ สอบถาม สัมผัส เคาะท้อง หูฟังปอด ใช้ในการพิจารณาการเกิดโรค ยาสมุนไพรที่หมอพื้นบ้านใช้ในรักษาโรคเด็กมีทั้งยาต้ม ยาอาบ ยากวาด ยาสุ่มกระหม่อมยาทา ซึ่งส่วนใหญ่แก้พิษตานซาง แก้ท้องอืด ขับลมซาง ในส่วนการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ที่สนใจอยากเรียนรู้ และมีจิตใจเมตตา อยากให้คนรุ่นหลังได้นำความรู้จากภูมิปัญญาหมอพื้นนำมาใช้และพัฒนาให้ยั่งยืนต่อไป

References

ปิยนุช ยอดสมสวย และสุพิมพ์ วงษ์ทองแท้. (2552). การศึกษาภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นครนายก. 72 หน้า.

พระมหาทองจันทร์ ทิพยวัฒน์. (2543). ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคกระดูก อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม. 192 หน้า.

มาลา สร้อยสำโร ภูมิปัญญาไทยในการกวาดยาเด็ก. (2010). การศึกษาองค์ความรู้ ความเชื่อ วิธีการ ขั้นตอน ตำรับยาที่ใช้ในการกวาดยาเด็กตามภูมิปัญญาไทย

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และยงศักดิ์ ตันติปิฎก. (2550). สุขภาพไทย วัฒนธรรมไทย. นนทบุรี: สำนักวิจัยและ สังคมสุขภาพขุนนิทเทศสุขกิจ : 2516 เรื่องสรรพยาวิจารณ์ เล่มสอง หน้า 1-10 พระคัมภีร์ ปฐมจินดา

วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ. (2536).คู่มือการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก. (ออนไลน์).

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2550). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพการแพทย์แผนไทย. หน่วยที่8-15 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26