สมรรถนะของแพทย์แผนไทยในระบบบริการสุขภาพสถานบริการสาธารณสุขของรัฐพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
สมรรถนะแพทย์แผนไทย, แพทย์แผนไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของแพทย์แผนไทยในระบบบริการสุขภาพสถานบริการสาธารณสุขของรัฐพื้นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 47 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามโดยค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t – test และ ONEWAY ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
ผลการวิจัย พบว่า แพทย์แผนไทย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.2 อายุระหว่าง 31 – 40 ปี ร้อยละ 98.1 สถานภาพสมรสโสด ร้อยละ 78.7 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 78.7 ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแพทย์แผนไทยระหว่าง 6-10 ปี ร้อยละ 51.1 ได้รับการอบรม/ประชุมวิชาการ/สัมมนา/ศึกษาต่อเนื่องเกี่ยวกับแพทย์แผนไทย ในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา ร้อยละ 100.0 งานบริการการแพทย์แผนไทยที่ปฏิบัติ ได้แก่ เวชกรรมไทย ร้อยละ 100.0 นวดไทย ร้อยละ 89.4 เภสัชกรรมไทย ร้อยละ 76.6 และการผดุงครรภ์ไทย ร้อยละ 10.6 จำนวนผู้มารับบริการที่มารับบริการในแผนกแพทย์แผนไทยเฉลี่ย 10 – 30 คน ร้อยละ 57.2 ปฏิบัติงานโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 46.8 สมรรถนะของแพทย์แผนไทยโดยรวม ด้านการมีจริยธรรม ความร่วมแรงร่วมใจ การบริการที่ดี การคิดวิเคราะห์ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การดำเนินงานเชิงรุก และความร่วมแรงร่วมใจ อยู่ในระดับมาก แต่ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญอยู่ในระดับปานกลาง แพทย์แผนไทยที่เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแพทย์แผนไทย จำนวนผู้มารับบริการที่มารับบริการและสถานที่ปฏิบัติงานแตกต่างกันมีสมรรถนะของแพทย์แผนไทยไม่แตกต่างกัน (p > .05)
References
ชนิญญา ชัยสุวรรณ. (2561). การบริหารจัดการในการให้บริการแพทย์แผนไทยเพื่อการชะลอวัยของสถานบริการสุขภาพในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หน้า ก.
ดารณี อ่อนชมจันทร์. (2547). การนวดพื้นบ้านไทย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.
เนตรศาณี คำดี. (2548) ปัญหาและความต้องการพัฒนาบุคลากรของผู้บริหารองค์กรด้านแพทย์แผนไทย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2544). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยในการให้บริการผู้ป่วยในระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ. วารสารการแพทย์แผนไทย. 5 (5). 1-11.
สุวิทย์ วิบูลผลประเสริฐ. (2550). การสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2548 – 2550. กระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: เอกสารอักสำเนา
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม. (2543). คู่มือนำเที่ยววัดโพธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.
เรวดี โพธิกุดสัย. (2558). การพัฒนาคุณภาพการบริการแพทย์แผนไทยตามเกณฑ์มาตรฐานงานบริการแพทย์แผนไทยในสถานบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 12(3), 105-114.
หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม. (2555). การบูรณาการการแพทย์แผนไทย: สถานการณ์การให้บริการการแพทย์แผนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์ สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Best, Johnson W. (1981). Research in Education. Englewood. Cliffs: Prentice –Hall.