ผลของการให้สุขศึกษาร่วมกับการแช่น้ำสมุนไพรและการนวดเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่คลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา ศิริพงษ์ดำรงกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สรรใจ แสงวิเชียร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศุภะลักษณ์ ฟักคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

แช่น้ำสมุนไพร, การนวดเท้า, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการแช่น้ำสมุนไพรและการนวดเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 คน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2563 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองวัด 2 ครั้ง (One group pre – test and post – test design) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ชุด ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย (1) แผนการสอนและฝึกทักษะ เรื่องการดูแลเท้า (2) คู่มือการดูแลเท้าซึ่งเนื้อหาประกอบด้วยการดูแลเท้า 5 ด้าน (3) การแช่น้ำสมุนไพรและการนวดเท้า และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลเท้า ทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ด้วยวิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีครอนบาค (Cronbach) เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน dependent – t – test และ Chi square test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หลังแช่น้ำสมุนไพรและนวดเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้าดีกว่าก่อนการทดลองอย่างนัยสำคัญทางสถิติ (t = 3.682, p = .000)  หลังการแช่น้ำสมุนไพรและการนวดเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่เท้า พบว่า ความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าลดลง ร้อยละ 20.0 (p = .042) ก่อนการแช่น้ำสมุนไพรและการนวดเท้าความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าอยู่ในระดับเสี่ยงต่ำ ร้อยละ 60.0 หลังการแช่น้ำสมุนไพรและการนวดเท้าความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าอยู่ในระดับเสี่ยงต่ำ ร้อยละ 80.0

References

ทัศนีย์ ตรีรัตนนุกูล. (2557). ผลของการนวดกดจุดสะท้านฝ่าเท้าต่ออาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ธิติยา พัววิไล, 2548) การศึกษาสาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลราชวิถี.วารสารโรงพยาบาลราชวิถี, 14, 7-20.

พรทิพย์ โคตรสมบัติ, 2550). การพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์: การส่งเสริมการควบคุมโรคของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้กลุ่มช่วยเหลือตนเอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ลดาวัลย์ อุ่นประเสริฐพงศ์ นิชโรจน์ และวีรียา วิริยะวโรทัย. (2555). ผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าผสมผสานการใช้ยารักษาโรคเบาหวานต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีระดับน้ำตาลในเลือด และแรงกดที่เท้าของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. www.gj.mahidol.ac.th

วรรณา อธิวาส. (2551). พฤติกรรมการดูแลเท้าและปัจจัยที่มีมีความสัมพันธ์กบการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. Thai Journal of Nursing Council, 25(1), 77-87.

ศรีมาลัย วิสุทธิศิริ. (2552). การพัฒนารูปแบบการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้า. คณะสาธารณสุขศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎ นครราชสีมา.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. (2556). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2554). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2554. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์.

สุนทร ตัณฑนันทน์. (2548). ใส่ใจเท้าก่อน..เพื่อการถูกบั้นขา. เบาหวาน. 37(1).

Al-Mahroos, F., Al-Roomi, K. (2007). Diabetic neuropathy, foot ulceration Peripheral Vascular disease and potential risk factors among patients with diabetes in Bahrain: a nationwide primary care diabetes clinic-based study. Jurnals of Saudi Medicine, 27(1), 25-31.

Al- Maskari, F., El-Sadig, M. (2007). Prevalence of risk factors diabetic foot complications. BMC Family Practice. Retrieved April 22, 2018, from http://www.biomedcentral.com.

Crawford, F., Mccowan, C., Dimitrov, B. D., Woodbum, J., Wylie, G. H., Booth, E., Leese, G. P., et al. (2010). The risk of foot ulceration in people with diabetes screened in Community setting: findings from a cohort study. Oxford Journals Medicine, 104(5), 403-10. Retrieved April 12, 2013, from htpp://qimed.oxfordjournals.0rg/content.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods (6th ed.). Philadelphia: J.B. Lippincott.

Singh, N., Armstrong, D. G., & Lipsky, B. A. (2005). Preventing foot ulcer in patients with diabetes. Journal of the American medical association, 293(2), 217-218. Retrieved April 22, 2013, from www. http://jama network.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26