การรับรู้ของนักศึกษาต่อการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจสำหรับการสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจ: กรณีศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

ผู้แต่ง

  • Pisit Jittisukpong College of General Education and Languages, Thai – Nichi Institute of Technology

คำสำคัญ:

ความเข้าใจในการอ่าน, เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ, การรับรู้

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันผู้คนที่ทำงานในแวดวงอุตสาหกรรมการศึกษาได้มีความตื่นตัวที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบต่างๆที่หลากหลายให้มีทั้งความท้าทายและประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนรวมทั้งให้ทันการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของระบบการเรียนการสอน ด้วยเหตุนี้ เทคนิคการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือร่วมใจจึงถูกนำมาใช้เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนในแวดวงทางการศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อการใช้เทคนิคการเรียนรู้ภาษาแบบร่วมมือร่วมใจสำหรับการสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจ 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักศึกษาต่อผลของการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจในชั้นเรียนการอ่านภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน ซึ่งมาจากต่างคณะกันในสถาบันเทคโนโลยีไทย – ญี่ปุ่น ที่ลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดไม่ได้เป็นนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ และได้ถูกเลือกมาโดยวิธีการแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยที่ผู้วิจัยได้อ้างอิงจากชั้นเรียนที่ได้รับมอบหมายจากสำนักทะเบียนที่มอบหมายให้ผู้วิจัยรับผิดชอบสอนข้อมูลได้ถูกรวบรวมโดยการใช้แบบสอบถาม

ผลการศึกษาพบว่านักศึกษามีแนวโน้มสนับสนุนการใช้ยุทธวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจต่อการเรียนการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจ นักศึกษาพบว่าพวกเขามีแรงจูงใจในการเรียนที่สูงขึ้นในการมีส่วนร่วมในรูปแบบการสอนนี้ ยิ่งไปกว่านั้นนักศึกษายังรู้สึกว่าพวกเขารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นเมื่อพวกเขามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียนการอ่านภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ด้วยเหตุผลดังกล่าว พวกเขาเลยไม่รู้สึกกังวลเลยในระหว่างทำกิจกรรมกลุ่มและนักศึกษาส่วนใหญ่ยังยืนยันว่าพวกเขามีความมั่นใจมากขึ้นกว่าเดิมเมื่อพวกเขาต้องอ่านบทอ่านภาษาอังกฤษตามลำพัง

References

Brown, H.D. (2002). Strategies for success : A Practical guide to Leaning English. New York : Longman.

Carrell, P.L. (1988). Interactive text processing : Implication for ESL/Second Language reading Classrooms. Cambridge University Press : New York.

Chawwang, N. (2008). An Investigation of English Reading Problems of Thai 12th Grade Students in Nakhonratchasima Educational Regions 1, 2, 3, and 7 (Master’s thesis). Bangkok : Srinakharinwirot University.

Dhitsakul, S. (2000). Collaborative Learning. Education Paritat Journal, 15 (2), 1-8.

Edge, J. (1993). Essentials of English Language Teaching. New York : Longman.

Jolliffe, W. (2007). Cooperative Learning in the Classroom : Putting It into Proactive. London : Paul Chapman.

Karabuga, F. Kaya, E. (2013). Collaborative Strategic Reading Practice with Adult EFL Learners : a Collaborative and Refractive Approach to Reading. Social and Behavioral Science, 106, 621-630.

Momtaz, E.& Garner, M. (2010). Does Collaborative Learning Improve EFL Students’ Reading Comprehension? Journal of Linguistics and Language Teaching,1 (1), 12-19.

Nunan, D. (2000). Second Language Acquisition. Cambridge : Cambridge University Press.

Smith, B. & MacGregor, J. (1992). What is Collaborative Learning? Retrieved March 15, 2018, from http://www.Readingrockets.com.

Wongbiasaj, S. & Chaikitmongkol, W. (2010). The Comparison Study of Learning Strategies of Students Majoring in English Chiang Mai University. English Department : Chiang Mai University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26