ผลของการใช้กลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

ผู้แต่ง

  • โปรยทิพย์ สันตะพันธุ์ กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์
  • ศิริญพร บุสหงษ์ สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์
  • เชาวลิต ศรีเสริม สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์
  • อนงค์ลักษณ์ วงศ์ตรี สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

กลุ่มช่วยเหลือตนเอง, พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต, ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนก่อนและหลังการเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองและเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ได้เข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองกับผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนที่ได้รับการดูแลตามปกติกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ซึ่งมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์จำนวน 60 คน จัดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการจับคู่ตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส จำนวน30 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองและแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยงของเครื่องมือแล้ว ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.) พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนกลุ่มทดลองภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05(t= 70.65,p= .00) 2.) พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05(t= 27.53,p= .00)

References

จินตนา ยูนิพันธุ์.(2534). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของประชาชนไทยในภาคกลาง.กรุงเทพมหานคร : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.

เดือนแรม ยศปัญญา. (2557). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต.28(3), 63-74.

ธนิดา ทีปะปาล. (2558). ผลของการทำกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อคุณภาพชีวิตด้านจิตใจของผู้ป่วยเด็กวัยรุ่นโรคมะเร็ง;วารสารพยาบาลสงขลา. 35(3), 111-126.

ธวัชชัย สีฬหานาจ. (2552). ตำราโรคจิตเภท. สงขลา: ชาญเมืองการพิมพ์.

บัวลอย แสนละมุลและปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. (2557). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2(1), 25-35.

บุปผา ธนิกกุล. (2555). ผลของกลุ่มช่วยเหลือตนเองและการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อภาระการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะพยาบาลศาสตร์, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.

พิเชษฐ์ อุดมรัตน์ และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (2552). ตำราโรคจิตเวช. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์.

อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย.(2554). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร: วีพริ้นท์.

อัญชลี ตักโพธิ์. (2559). ผลของโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้ดูแลหลักผู้ป่วยจิตเภท(วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต).กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อิชญา พงษ์อร่าม. (2558). ผลของโปรแกรมกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อความมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อน.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะพยาบาลศาสตร์, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.

Burns, N.,&Grove, S.K.(1997).The practice of nursing research: Conduct, Critique, &Utilization.3thed. Philadelphia: W. B. Sauders.

Cohen, S. (1998). Statistical power analysis for the behavioral science. 2nd ed. Hillsdale, N J: LawrenceErlbaum Associates.

Cole, S.A.(1983).Self-help group. In Kaplan and Sudock ed.Comprehensive group USA: Willian &Willkins.

Hill, L., Smith, N.(1990). Self-Care Nursing Promotion of Health. 2nd ed. New Jersey:Appleton& Lange.

Mitsonis, C., Voussoura, E., Dimopoulos, N., Psarra, V., Kararizou, E., Latzouraki, E., Zervas,

I.,&Katsanou,M.(2012). Factors associated with caregiver psychological distress in chronic schizophrenia. Soc Psychiatr Epidemiol, 43(3): 331-337.

Phanthunane, P., Theo, V., Harvey, W., Melnie, B.,&Pichet, U.(2010). Schizophrenia in Thailand prevalence and burden of disease. Population Health Metrics,8(2):
24-36.

Robinson, D.(1985).self-help group. British Journal of Hospital Medicine,19(9):109-111.

Ukpong,D.(2011). Burden and psychological distress among Nigerian family caregiver of schizophrenia patient: The role of positive and negative symptom. Turkis
Journal of Psychiatry, 22(3): 1-6.

Vogel,S.H.(1998). Double trouble in Recovery: Self - Help for People with DualDiagnosis. Psychiatric Rehabilitation Journal, 21: 356-364.

Walz, G.R.,&Bleuer, C.(1992). Developing Support Groups for Students: Helping Students Cope with Crises. Michigan: ERIC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26