ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ :บทบาทพยาบาล

ผู้แต่ง

  • โปรยทิพย์ สันตะพันธุ์ กลุ่มวิชาการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์
  • บุปผา ใจมั่น สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี
  • วิจิตรา จิตรักษ์ สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี
  • ศิริญพร บุสหงษ์ สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี
  • เชาวลิต ศรีเสริม สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ, บทบาทพยาบาล

บทคัดย่อ

วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายจิตใจและสังคมไปในทางเสื่อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของสมองด้านการรู้คิดและสติปัญญา โดยมีการเสื่อมของความจำเป็นอาการเด่นและมีอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมบุคลิกภาพ และอารมณ์ ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมจะมีความบกพร่องทางด้านการรับรู้ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการคิด และการตัดสินใจ แต่ไม่มีการสูญเสียระดับความรู้สึกตัวภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ แต่มักจะถูกมองข้ามและเข้าใจผิดคิดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย แต่ในความเป็นจริงเมื่อเกิดแล้วส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ สังคม ของผู้สูงอายุ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง   การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมนั้นจะต้องมีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รูปแบบรักษา รวมถึงบทบาทของพยาบาล   ทั้งนี้เพื่อที่จะให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้รับการดูแลรักษาพยาบาลอย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ พยาบาลเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม   โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการพยาบาลคือ การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมให้ได้รับการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และให้การพยาบาลอย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนความคิด อารมณ์และพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นและเหมาะสม ดำเนินชีวิตในสังคมได้

References

ชัชวาล วงค์สารี.(2560). ผลกระทบหลังการเกิดภาวะสมองเสื่อมกับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 23(3), 680-689.

ชัชวาล วงค์สารีและศุภลักษณ์ พื้นทอง. (2561). ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ: การพยาบาลและการดูแลญาติผู้ดูแล. วารสาร มฉก.วิชาการ. 22(43-44), 166-179.

นิตยา น้อยสีภูมิ, และศิริพันธุ์ สาสัตย์.(2557). การมีชีวิตอยู่กับภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นของผู้สูงอายุ:การศึกษารายกรณีเชิงคุณภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.26(2), 99-110.

ปณิตา ลิมปวัฒนะ. (2560).ภาวะสมองเสื่อม. กลุ่มอาการสูงอายุและประเด็นที่น่าสนใจทางสุขภาพ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

รัชนี นามจันทรา. (2553). การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสาร มฉก.วิชาการ.14(27), 137-150.

วีระศักดิ์ เมืองไพศาล.(2560). พฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุสำหรับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุขั้นต้น.กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2551). แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2548). การดูแลรักษาโรคผู้สูงอายุแบบสหสาขาวิชา. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและการพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

American Psychiatric Association. (1994).Diagnostic and Statistical of Mental Disorders.4th ed. Washington, D.C. : American Psychiatric Association.

Ferri, C.P., Prince, M., Brayne, C., Brodaty, H.,Fratiglioni, L.,& Ganguli, M. (2005). Global prevalence of dementia: a delphi consensus study. Lancet. 366(9503), 2112-2117.

Hogan, D.B., Bailey, P., & Black, S. (2008).Diagnosis and treatment of dementia: 4. Approach to management of mild to moderate dementia. CMAJ, 179:787-793.

Kalaria,R.N., Maestre, G.E., Arizaga, R., Friedland, R.P., Galasko, D.,&Hall, K.( 2008). Alzheimer’sdisease and vascular dementia in developing countries: prevalence,
management and risk factors. Lancet Neurol, 7(9):812-826.

McKhann, G.M., Knopman, D.S., Chertkow H, Hyman, B.T, Jack C.R,& Kawas, C.H. (2011).The diagnosis of dementia due to Alzheimer’s disease:Recommendations from the National Institute on Aging-Alzheimer’s Association workgroups on diagnostic guidelines for Alzheimer’s disease. Alzheimer’s & dementia : the journal of the Alzheimer’s association, 7(3):263-269

Nakanishi, M.,& Nakashima, T.(2014). Features of the Japanese national dementia strategy in comparison with international dementia policies: how should a national dementian policy interact with the public health-and social-care systems?. Alzheimer’s Dement, 10(4):468-476.

Panakhon, L., Nanthamongkolchai, S., Pitikultang, S., & Taechaboonsermsak, P.(2015).Factors influencing dementia in elderly women in Lumphun province. J Public Health, 45(2):197-209.

Ross, GW., & Bowen, JD. (2002).The diagnosis and differential diagnosis of dementia. Med Clin North Am, 86(3):455-476

Selbaek, G., Kirkevold, O., & Engedal, K.(2008).The course of psychiatric and behavioral symptoms and the use of psychotropic medication in patients with dementia in Norwegian nursing homes - A 12-month follow-up study. Am J Geriat Psychiat, 16(7):528-36.

World Health Organization.(2016). Alzheimer’s Society. Fix dementia care: hospitals. [Internet].[cite 2020 April 7].Available. form: http://www. Alzheimer.org. UK/
Fixdementiacare

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26