การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ห้องคลอด โรงพยาบาลหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • ละออ บาระมี โรงพยาบาลหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
  • พรพักตร์ สุรำไพนิธิพร มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด, การป้องกันภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด, การพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ผู้ศึกษาดำเนินการพัฒนาภายใต้แนวคิดการพัฒนาแนวทางปฏิบัติของ IOWA (2001) ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2563 ห้องคลอด โรงพยาบาลหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและแนวปฏิบัติทางการพยาบาล โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงได้แก่ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 8 ราย และมารดาตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาล จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลที่มีต่อความคิดเห็นที่มีต่อแนวปฏิบัติในการป้องกันภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด3) แบบสอบถามความคิดเห็นในความเป็นไปได้ที่มีต่อแนวปฏิบัติในการป้องกันภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด 4)อัตราการเกิดภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณ

ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการป้องกันภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ห้องคลอด พัฒนาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ 21 เรื่อง แนวปฏิบัติประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) การป้องกันภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในระยะรับใหม่ของการคลอด 2) การป้องกันภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในระยะที่ 1 ของการคลอด 3) การป้องกันภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในระยะที่ 2 ของการคลอดและ 4) การป้องกันภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในระยะที่ 3 ของการคลอด สำหรับความเป็นไปได้ในการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล พบว่า กลุ่มผู้ใช้แนวปฏิบัติทุกรายเห็นด้วยว่าแนวปฏิบัติทางการพยาบาลมีความง่ายไม่ซับซ้อน มีความชัดเจน มีความเหมาะสมกับหน่วยงาน มีความเป็นไปได้ในการที่จะนำไปใช้ในหน่วยงาน มีประสิทธิผลสามารถแก้ปัญหาการให้บริการได้ แต่ผู้ทดลองใช้แนวปฏิบัติ 1 ใน 8 รายเห็นว่า ต้องใช้เวลามากในการปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะขาดออกซิเจนของทารกดังกล่าว แต่ประหยัดงบประมาณ ภายหลังการใช้แนวปฏิบัติอัตราการเกิดภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดที่ 1 นาที และ 5 นาที ลดลงจาก 62.5 เป็น 16.94 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ จากการศึกษาครั้งนี้ ยืนยันว่าแนวปฏิบัติทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ควรนำเสนอต่อผู้บริหารเพื่อนำสู่ขั้นตอนการนำไปใช้ต่อไป เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการในการป้องกันภาวะการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข.อัตราการเกิดภาวะขาดอากาศในทารกแรกเกิด (Birth Asphyxia Rate) เขตสุขภาพ. เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม2563.เข้าถึงได้จาก: http://dashboard.anamai.moph.go.th/ dashboard/birthasphyxia?year=๒๐๒๐

กรรณิการ์บูรณวนิชและกฤษณ์เชี่ยวชาญประพันธ์. (2563). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนปริกำเนิดในคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine. Vol. 65 No. 1 January - February 2020.

ชญาศักดิ์ พิศวง และปริศนา พานิชกุล.(2554).ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลมงกุฎเกล้าเวชสารการแพทย์ทหารบกปีที่ 6 ฉบับที่ 3 ก.ค. – ก.ย. 2554.

ฉวีวรรณ ธงชัยและพิกุล นันทชัยพันธ์. (2563).แบบประเมินคุณภาพของแนวปฏิบัติทางคลินิก.(ออนไลน์) เข้าถึงเมือ 10 ตุลาคม 2563, เข้าถึงได้จากhttps://www.agreetrust.org/wp-content/uploads/2013/06/AGREE_Instrument_Thai.pdf

ดารุณี จันฤาไชย.(2555).ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร.วารสารพยาบาล. ปีที่61ฉบับที่4 ตุลาคม – ธันวาคม 2555

ฟองคำ ติลกสกุลชัย. (2551). การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์: หลักการและวิธีการปฏิบัติ (Evidence-based nursing: Principle and method)(พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ: พรี-วัน.

วรรณวรา ไหลวารินทร์.(2557).การพัฒนาแนวทางการป้องกันการเกิดภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิดโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา.วารสารกองการพยาบาล.ปีที่4 ฉบับที่ 3 กันยายน –ธันวาคม 2557.

สมบัติ ศักดิ์สง่าวงษ์และสุธีร์รัตนะมงคลกุล.(2562).ปัจจัยเสี่ยงและคะแนนความเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกุมภวาปีจ.อุดรธานี. เวชสารแพทย์ทหารบกปีที่๗๒ฉบับที่๑มกราคม-มีนาคม 2562.

อาภาพร ศีระวงษ์และนิลุบล รุจิรประเสริฐ.(2560).การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการคลอดระยะที่ 1 ของการคลอดยาวนาน โรงพยาบาลจัตุรัสจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาปีที่๓ฉบับที่2.

AlemworkDestaMeshesha,MulukenAzage,EndalkachewWorku,GetahunGebreBogale. Determinants of Birth Asphyxia Among Newborns in Referral Hospitals of Amhara National Regional State, Ethiopia. Pediatric Health, Medicine and Therapeutics 2020:11.

Christina A. Herrera, Robert M. Silver, Perinatal Asphyxia from the Obstetric Standpoint Diagnosis and Interventions.ClinPerinatol 43 (2016) 423-438.

Craig, J. V., & Smyth, R. L. (2002).The evidence-based manual for nurses. London: Churchill Livingstone.

LoıcSentilhes , Marie-VictoireSenat , Anne-Isabelle Boulogne ,Catherine Deneux-Tharaux.

Pitsawong C, Panichkul P. Risk factors associated with Birth Asphyxia in Phramongkutklao Hospital. Thai J ObstetrGynaecol.2011;19:165-171

World Health Organization.ICD-๑๐ Version ๒๐๑๐ [Serial online]. Geneva: World Health Organization; ๒๐๑๐ [cited ๒๐๑๗ Jun 12]. Available from:http://www.who.int/classifi cations/icd/icdonlineversions/en.https://my.dek-d.com/KATAI-Zaa/blog/?blog_id=๑๐๑๕๘๖๔๘

World Health Organization.Newborn death and illness 2011. Available from:http://www.who. int/pmnch/media/press_materials/fs/fs_newborndealth_illness/en/. Accessed November 05, 2019.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26