วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของความเหลื่อมล้ำทางสังคมกับการเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยเอดส์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นิรันดร์ บุญสิงห์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความเหลื่อมล้ำทางสังคม, การเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย พบว่า การเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยเอดส์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยรวม 3.76) และเมื่อพิจารณาปัจจัยเชิงสาเหตุของความเหลื่อมล้ำทางสังคมของผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยเอดส์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยรวม 3.82) ผลการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำทางสังคมกับการเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยเอดส์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับความสัมพันธ์มากสุดไปต่ำสุด พบว่า (1) ความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายบริการที่จัดขึ้นโดยภาครัฐ โดยมีค่าความสัมพันธ์ R = 0.479 (2) ภาวะเศรษฐกิจ และขาดโอกาสประกอบอาชีพ โดยมีค่าความสัมพันธ์ R = 0.410 (3) สภาพสังคม วัฒนธรรมในชุมชนที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ โดยมีค่าความสัมพันธ์ R = 0.390 (4) ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ภาวะความยากจน โดยมีค่าความสัมพันธ์ R = 0.270 และความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและบุคคลภายนอก โดยมีค่าความสัมพันธ์ R = -0.066 มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางลบ นอกจากนี้ ยังพบว่า การล่มสลายของวัฒนธรรมและระบบสายพันธุ์ทางสังคมในชุมชนไม่มีอิทธิพลหรือไม่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยเอดส์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี จากผลการศึกษาดังกล่าวภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายสวัสดิการสังคมในระดับพื้นที่ที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ และขาดโอกาสประกอบอาชีพแก่ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ป่วยเอดส์

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2547). โครงการการประเมินผลการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : บางกอกบล็อก จำกัด.

คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564). กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ทรงธรรม์ สวนียะ. (2540). การถ่ายโอนงานของประชาสงเคราะห์ให้องค์การบริหารส่วนตำบล. ผลงานเพื่อเสนอพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนฯ (ชช). กรุงเทพมหานคร : กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.

นลินี โล่ห์ชิงชัยฤทธิ์. (2549). การประเมินผลการดำเนินงานสวัสดิการสังคมด้านเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มลฤดี ศรีสุข. (2545). การบริหารงานสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยบูรพา.

วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. (ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2548). สังคมสงเคราะห์ : พลังสมานฉันท์ของสังคม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิริยาภรณ์ สวัสดิรักษา. (2544). การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเอง : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ มหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). เอกสารเผยแพร่ แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี (อัดสำเนา).

สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี . (2545). คู่มือการปฏิบัติงานด้านการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2540). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2554). รายงานการวิจัยประชากรและสังคม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานเศรษฐกิจกระทรงการคลังรายงานปี. (2551). รายงานงานสภาวะเศรษฐกิจการคลัง ประจำปี 2551.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรงการคลัง

อรพินท์ บุนนาค. (2537). โครงการวิจัยความต้องการของผู้สูงอายุในด้านการทำงานและสวัสดิการเพื่อจัดตั้งศูนย์บริการจัดหางานให้ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26