การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนชุมชนบ้านเจียดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 2

ผู้แต่ง

  • ประยูร เครื่องกัณฑ์ โรงเรียนบ้านม่วงเฒ่า

คำสำคัญ:

การจัดการแหล่งเรียนรู้โรงเรียน

บทคัดย่อ

การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนชุมชนบ้านเจียด 2)เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนชุมชนบ้านเจียด ประชากรและตัวอย่างในการวิจัยคือผู้ร่วมวิจัยจำนวน 15 คนผู้ให้ข้อมูลจำนวน 50 คนซึ่งผู้ให้ข้อมูลได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงกระบวนการขั้นตอนการดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ ตามแนวคิดของKemmis and Mctaggart (1988) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การวางแผนขั้นที่ 2 การปฏิบัติการขั้นที่ 3 การสังเกตการณ์ขั้นที่ 4 การสะท้อนผลเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสังเกตแบบบันทึกข้อมูลแบบสัมภาษณ์แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์การดำเนินการพัฒนาด้านคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์การดำเนินการพัฒนาด้านปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) มีการจัดแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ แต่ยังไม่เกิดประสิทธิภาพ ขาดการดูแลเอาใจใส่ขาดสื่ออุปกรณ์ สถิติผู้เข้าใช้บริการน้อย สภาพห้องเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ไม่สะอาด แสงไม่พอวัสดุครุภัณฑ์ในห้องชำรุด ป้ายนิเทศไม่เป็นปัจจุบัน ส่วนแหล่งเรียนรู้สนับสนุนด้านวิชาการ ครูที่รับผิดชอบไม่ใส่ใจ วัสดุอุปกรณ์บางส่วนชำรุด ขาดการบริหารจัดการที่ดี ทั้งด้านบุคลากรและด้านงบประมาณ รวมถึงการระดมทุนทรัพยากรทางการศึกษา ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วน ครูไม่มีเวลาดูแลรับผิดชอบแหล่งเรียนรู้อย่างเต็มที่ ขาดการประชาสัมพันธ์ การจัดกิจกรรมส่งเสริมเพื่อกระตุ้นนักเรียนเข้าไปใช้แหล่งเรียนรู้ไม่ต่อเนื่อง ครูยึดติดกับการจัดการเรียนรู้แบบเดิม 2) การจัดแหล่งเรียนรู้ทั้งด้านวิชาการและด้านสนับสนุนวิชาการ และความพึงพอใจของผู้เข้าใช้บริการแหล่งเรียนรู้ในวงรอบที่ 1 พบว่า หลังการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่มีการพัฒนามากที่สุด ระดับความพึงพอใจอยู่ที่ระดับมาก เรียงตามลำดับที่ 1 - 3 คือ ห้องสมุด ห้องพุทธศาสน์ และห้องเรียน ส่วนห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องดนตรีศึกษา และสวนสมุนไพร ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยร่วมกันประชุมมีมติให้ดำเนินการพัฒนาใหม่ในวงรอบที่ 2 โดยใช้แนวทางการพัฒนา คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และทำการพัฒนาโดยให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทุกขั้นตอน ควบคู่กับการนิเทศภายใน หลังการพัฒนาในวงรอบที่ 2 พบว่าแหล่งเรียนรู้ทุกแหล่งเรียนรู้มีการพัฒนาขึ้น ซึ่งได้เปรียบเทียบความพึงพอใจของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว ระหว่างวงรอบที่ 1 และวงรอบที่ 2 ในภาพรวม มีการพัฒนาคิดเป็นร้อยละ 21.80

References

กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน.กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). ยกย่องครูดีเด่นประเทศไทยด้านสะเต็มศึกษาการเรียนรู้เพื่อ แก้ปัญหาพัฒนานวัตกรรมใหม่ท้าทายสู่งานอาชีพ.จาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/ สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 2559.

เกษมสันต์ ศรีคาแซง. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพโรงเรียนบ้านโคกก่องสหมิตรวิทยาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 1. วิทยานิพนธ์คษ.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เจนจิรา อุปัญญ์. (2558). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนแก้งโนนคาประชาสรรค์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร.วิทยานิพนธ์ค.ม.มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ดิเรก พรสีมา(2559).ครูไทย 4.0. กระทรวงศึกษาธิการจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 2559.

ทศพร สิทธิธนชัย. (2552). การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนอุ่มเหม้า ประชาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ทวีศักดิ์ธิมา. (2558). ข้อเสนอยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสันต้นหมื้ออำเภอแม่อายจังหวัดเชียงใหม่.การศึกษาค้นคว้าอิสระค.ม. เชียงราย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา(ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

ธัญลักษณ์ ศรีสร้อย. (2555). การส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านคาแหวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นงค์ศรี ราชมณี. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านจาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุษบา ช่วยแสง. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนบ้านหนองอ้อน้อยอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี.วิทยานิพนธ์ค.ม. อุดรธานี :มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ประภาภรณ์ มีพรหม. (2559). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนบ้านข่าพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 22.วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พลอยพัชชา อามาตย์ (2552). การพัฒนาบุคลากรในการจัดการการเรียนรู้แบบบูรณาการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลเก่างิ้ว อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พยุง ใบแย้ม (2558). การพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่เหมาะสม เพื่อการจัดการศึกษาในระดับ ประถมศึกษา. วารสารสารสนเทศ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน), หน้า 24.

เพ็ญพิไลลักษณ์ มณีภาค. (2550). การพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนการสอนในโรงเรียนหนองพอกวิทยา อาเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด.การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสารคาม.

รุ่งชัชดา พรเวหะชาติ (2550). การบริหารงานวิชาการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2557). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความ รับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ป.

สายชลวัฒนเกษกรณ์สุพัฒนาหอมบุปผาและสาธรทรัพย์รวงทอง(2560). รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนา วิชาการ(Proceedings) การนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือครั้งที่ 17

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(2551).แนวทางการนามาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550). การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้.กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อุทัย น้อยตาแสง. (2554). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาโรงเรียนไตรรัตนวิทยาอำเภอฆ้องชัยจังหวัด กาฬสินธุ์.สารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุรัญ บุญเงิน. (2554). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการเรียนการสอน โรงเรียนดงบังราษฎร์นุเคราะห์อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา การบริหาร
การศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26