ผลการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อพัฒนาทักษะด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • วิชาญ ไทยแท้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ดร.นนทชนนปภพ ปาลินทร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ดร.อภิรดี ไชยกาล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ผศ.ดร.ธิดารัตน์ จันทะหิน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ผศ.ทิพากร บุญกุลศรีรุ่ง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • ชลิลลา บุษบงก์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ไฮสโคป, เด็กปฐมวัย, ทักษะด้านการสังเกตและการจำแนก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของไฮสโคป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5 – 6 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/3 โรงเรียนบ้านเทศบาล 2 หนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สำนักการศึกษาเทศบาลนครอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ใช้เวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 20 ครั้ง ใช้เวลาครั้งละประมาณ 15-20 นาที โดยจัดในกิจกรรมเสรี(เล่นตามมุม) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสังเกตและการจำแนกสำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 20 แผน และ แบบทดสอบความพร้อมด้านการสังเกตและการจำแนกสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ และสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Sample)

          ผลการวิจัย พบว่าเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป มีทักษะด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัยหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กมลรัตน์ ทิสมบูรณ์. (2550). การจัดประสบการณ์การละเล่นของเด็กไทยโดยใช้บทร้องและบทเจรจาโต้ตอบแบบประยุกต์ที่มีต่อความสามารถของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต
กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมวิชาการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โปรดักส์.

ชนาธิป พรกุล. (2543). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552).80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพ:ฯ บริษัท แดเน็กส์ อินเตอร์ คอร์ปปอเรชั่น.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541).เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิต, .

นภเนตร ธรรมบวร. (2544). การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยทางการวัดและประเมินผล. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2543). รวมบทความการวิจัยการวัดผลและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : ศรีอนันต์.

บุญเยี่ยม จิตดอน. (2546). การดูแลและให้การศึกษาเด็กระดับก่อนประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจา แสงมะลิ. (2545). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เมธีทิปส์.

ประอร อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2542). “การสอนแบบไฮ/สโคป,” วารสารปฐมวัย. 3(1) : 36-40 ;มกราคม, 2542.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พัชรี ผลโยธินและคณะ. (2550). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย : ตามแนวคิดไฮสโคป. กรุงเทพฯ :วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2545). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ยุพา วีระไวทยะและปรีชา นพคุณ. (2544). การสอนวิทยาศาสตร์แบบมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เอพี กราฟฟิกส์ดีไซน์.

วรนาท รักสกุลไทย. (2542). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 3 - 5 ปี. กรุงเทพฯ : ประสานการพิมพ์.

วศินี อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2545). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์ วางแผนปฏิบัติ ทบทวน ตามแนวการสอนแบบไฮ/สโคปของนักเรียนชั้นเด็กเล็กโรงเรียนสาธิต มศว. ประสานมิตร (ฝ่ายประถม). กรุงเทพฯ : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพรรณ สิทธิพูนอนุภาพ. (2552). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป (High/Scope). การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สรศักดิ์ แพรดำ. (2544). ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำลี รักสุทธีและคณะ. (2544). เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : พัฒนาการศึกษา.

สุวิชา วิริยมานุวงษ์. (2545). เด็กปฐมวัยกับทักษะกระบวนการทางวิทยา Scientific Process Skills forPre - school Children. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

สุวิชา วิริยมานุวงษ์. (2545). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

เอราวรรณ ศรีจักร. (2550). “การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ”, วารสารการศึกษาปฐมวัย. 12(2) :43 - 51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26