การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
คำสำคัญ:
ตัวบ่งชี้, การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์และ 3) สร้างคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษ การดำเนินการมี 3 ระยะ ประกอบด้วยระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษ ดำเนินการโดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างครูภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22จำนวน 280 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.60–1.00 ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.98 และระยะที่ 3 การสร้างคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษ ผลดำเนินการตรวจสอบความเหมาะสมโดยครูภาษาอังกฤษ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า 1.) ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อย 67 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นด้านความรู้ จำนวน 23 ตัวบ่งชี้ ด้านทักษะ จำนวน 28 ตัวบ่งชี้ และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล จำนวน 16 ตัวบ่งชี้ 2.) โมเดลโครงสร้างสมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 70.31, df = 58, p-value = 0.12885,GFI = 0.97,AGFI = 0.94,RMSEA = 0.028,CN=362.68)และค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 67 ตัวบ่งชี้ ระหว่าง 0.35–0.62 3.) คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะครูภาษาอังกฤษในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กรมวิชาการ, (2545). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ :
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินคและพัสดุครุภัณฑ์
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, (2548). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.,
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติสานักนายกรัฐมนตรี.
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.(2552). ICT กับการปฏิรูปการศึกษา. (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก https://gilfkaevarity.wordpress.com/ . 25 พฤศจิกายน 2562
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2017). ภาษาศาสตร์. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.arts.chula.ac.th/ling/whatislinguistics/ 23 พฤศจิกายน 2562
งามนิจ กุลกัน (2557). การจัดองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (ออนไลน์) เข้างถึงได้จาก https://www.tcihaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/10778 .13 พฤศจิกายน 2562
จินตนา สุพรรณิกา (2556). คุณธรรมจริยธรรม. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://m050075mo.blogspot.com/2013/07/blog-post_30.html . 20 พฤศจิกายน 2562
จักรพล สงวนรัมย์.(2562) .ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊คของประชากรเจเนอเรชั่นซี (Z).จังหวัดชัยภูมิ :CRRU Journal of Communication Chiangrai Rajabhat University Vol. 2 No. 1 (January - April 2019)
ซาร่า นวลแย้ม. (2557). หลักการทักษะ และเทคนิคการจัดการเรียนรู้. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://shortnote543.blogspot.com/p/blog-page_7.html. 30พฤศจิกายน 2562
ณรงค์วิทย์ แสนทอง (2551) การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินคุณภาพการบริหารและการจัดการเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ : ธารอักษร, 2545.
เทื้อน ทองแก้ว (2557). สมรรถนะ (Competency) หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2550.
นิตยา สุวรรณศรี. (2554). วารสารวิชาการมหาวิทยาลันราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
นงลักษณ์ วิรัชชัย (2551). “วิธีวิทยาขั้นสูงด้านการวิจัยและสถิติ,” วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 7 : 1-31 ;กรกฎาคม – ธันวาคม, 2538.
นพพร สโรบล (2554). ภาษาอังกฤษกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : สถาบันภาษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุษรินทร์ เชี่ยววานิช (2549). การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมคุณภาพการสอนวิชาภาษาอังกฤษของครูชาวต่างชาติในโรงเรียนสองภาษา. วิทยานิพนธ์ คศ.ม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประคอง ยุคะลัง. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้งานวิชาการสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประยูร เจริญสุข.(2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้งานวิชาการสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ ศษ.ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ผกาวดี ศรีสุทธิ. (2555). ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://krupaga.wordpress.com/2012/11/03/81/. 4 ธันวาคม 2562
พัชรพร รัตนโวภาส (2558, หน้า 26) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :ดวงกมลพับลิชชิ่ง, 2554.
ยุพาวัลย์ เถาว์เมือง. (2554). ทักษะการสอนและเทคนิคการสอน. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://yupawanthowmuang.wordpress.com/. 27 พฤศจิกายน 2562
เยาวลักษณ์ มูลสระคู (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะครูสอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2560). ทักษะขั้นพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3314&filename=index 27 พฤศจิกายน 2562
อานนท์ ตุลารักษ์. (2562, ออนไลน์). “แนวความคิดเรื่องสมรรถนะ (Competency) : เรื่องเก่าที่เรายังหลงทาง,”วารสารจุฬาลงกรณ์รีวิว. 16(61) : 57-72 ; กรกฎาคม – กันยายน, 2547.
Amin Sikki (2013) Amin Sikki, EndangAsriyanti and others. “The Competence of Primary School English Teachers in Indonesia,” Journal of Education and Practice.4(11) , 2013.
A topnotch Wordpress.com. (2013) . ทักษะเพื่อชีวิต. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://54040267t.wordpress.com/ 26 พฤศจิกายน 2562
Gredler HR Teamwork. (2551). ทฤษฎีการเรียนรู้. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/bthreiyn123/khwam-hmay-khxng-thvsdi-kar-reiyn-ru