ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองของ ผู้ประกอบอาชีพผลิตอิฐมอญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันตนเอง ผู้ประกอบอาชีพผลิตอิฐมอญบทคัดย่อ
การผลิตอิฐมอญส่งผลต่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ การได้ยิน การระคายเคืองผิวหนังและดวงตา การบาดเจ็บกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากท่าทางการทำงาน ดังนั้นการมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจึงมีความจำเป็นต่อการผลิตอิฐมอญ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองของผู้ประกอบอาชีพผลิตอิฐมอญ ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 108 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การใช้สถิติไคสแคว์ และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบอาชีพผลิตอิฐมอญ มีความเชื่อด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 61.57) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 3 ใน 4 ด้านของการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ประกอบด้วย การรับรู้ความรุนแรง (ร้อยละ 69.44) การรับรู้ประโยชน์ (ร้อยละ 64.81) การรับรู้อุปสรรค (ร้อยละ 65.74) ส่วนความเชื่อด้านสุขภาพที่อยู่ในระดับสูงมีด้านเดียว คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยง (ร้อยละ 50.00) นอกจากนี้ยังพบว่าคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการประกอบอาชีพส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 79.63) และพบว่า โรคประจำตัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (c2= 6.60, p=0.03) และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (rs= -0.197, p=0.04) ส่วนความเชื่อด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กนกอร เจริญผล ฉันทนา จันทวงศ์ และ ยุวดี ลีลัคนาวีระ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของคนงานก่อสร้างภาคอุตสาหกรรม. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30 (2) 64-80.
ชัยวัฒน์ ทิพย์ลมัย. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม เขตจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชูชาติ จุลพันธ์ มานพ ชูนิล และอารี เพชรผุด. (2543). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม เขตจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โชติมา พลรักษา. (2556). รายงานวิจัย เรื่อง ประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงเตาเผาอิฐมอญ แห่งหนึ่งในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ฐาปนีย์ วังกานนท์. (2556). ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท แอมพาส อินดัสตรี จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ดวงตา เทียนกล่ำ. (2550). ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารเคมีอันตรายของพนักงานโรงงานผลิตมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แห่งหนึ่งในประเทศไทย. . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นราพรรณ บุญเปล่ง. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมในการป้องกันโรคซิลิโคซิสของคนงานโรงโม่หิน อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภฎัสุรินทร์.
นัพวุฒิ ชื่นบาล ตรีอมร วิสุทธิศิริ และพรเลขา บรรหารศุภวาท. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ รับจ้างในพื้นที่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (รายงานการวิจัย) . กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
รัตตินันท์ โภควินภูดิสนันท์ ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ และวันเพ็ญ ทรงคำ. (2552). การรับรู้ภาวะเสี่ยงอันตรายจากฝุ่นและพฤติกรรมการป้องกันของคนงานโรงงานเซรามิก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 18(4), 587-596.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากกุดหวาย. (2560). รายงานอันดับโรคที่ป่วยสูงสุดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากกุดหวาย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559 ถึง 20 กุมภาพันธ์ 2560. อุบลราชธานี.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). สถิติที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพ ฯ: กองการวิจัย, สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย). (18 กุมภาพันธ์ 2560). ทำไมจึงเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน? เข้าถึงได้จาก http://www.shawpat.or.th/index.php
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. (18 กุมภาพันธ์ 2558). รายงานประจำปี 2558 กองทุนเงินทดแทน. เข้าถึงได้จาก http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?cat=801
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (18 กุมภาพันธ์ 2560). สถิติสาธารณสุข ปี 2558. เข้าถึงได้จาก https://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=18527
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2556). รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2556. นนทบุรี: กองควบคุมโรค.
สุดหทัย ผิวฟัก. (2556). รายงานวิจัย เรื่อง พฤติกรรมการป้องกันตนเองของพนักงานโรงงานเตาเผาอิฐมอญ ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สุธาทิพย์ รองสวัสดิ์. (2554). สุธาทิพย์ รองสวัสดิ์. (2554). ปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงานที่มีผลต่อพฤติกรรมในการทำ งานของพนักงานระดับปฏิบัติการประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุระชัย ยะเครือ. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรในอําเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวรรณดา สงธนู อาภรณ์ทิพย์ บัวเพ็ชร และปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. ( 2557). การรับรู้ความเสี่ยงและพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากการทํางานของบุคลากรแผนกซักฟอก โรงพยาบาลชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 8(3), 187-194.
อังคณา วงศ์บุตร และอนงค์ หาญสกุล. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการป้องกันอันตรายจากการประกอบอาชีพของแรงงานนอกระบบ กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้ายืด บ้านโนนโพธิ์ ตำบลลุ่มลำชี อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพละศึกษา, 15(1), 142-153.