ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง ผสมสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • สุรียทิพย์ ประยูรพัฒน์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกรียติ

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผสมสมุนไพร, เครื่องสำอางผสมสมุนไพร, คุณภาพเครื่องสำอาง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผสมสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ประชากรที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ เลือกซื้อเครื่องสำอางผสมสมุนไพรร้านตัวแทนจำหน่าย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ค่าร้อยละค่าความถี่ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Multiple Regression
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผสมสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา และสถานภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยทางส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผสมสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการให้บริการ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสามารถพยากรณ์ทำนายปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผสมสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการได้ร้อยละ 36.10

References

กนกพร ฐานะเจริญกิจ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลการวิจัย.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (2559) ระวังอันตรายจากสารสเตียรอยด์ที่ผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง สืบค้น เมื่อ 25 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.dmsc.moph.go.th /secretary/pr/news detail.php?cid=1&id=164
กฤษติญา มูลศรี. (2553). ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชุมชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลการวิจัย.
ณัฐชา ธำรงโชติ และศศพร มุ่งวิชา. (2560). กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ SME กลุ่มสมุนไพรไทยเพื่อผิวพรรณ ใน เขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลการวิจัย.
ไทยรัฐออนไลน์ (18.ม.ค. 2563) สมาร์ทไลฟ์ : ดัน "เครื่องสำอางสมุนไพร" ไทย สู่ตลาด Online ใน จีน สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563 จากhttps://www.thairath.co.th/lifestyle
บุญชม ศรีสะอาด (2538) วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย พิมพ์คร้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น
ประชาชาติธุรกิจ (2560) วิบากกรรมปาล์ม “อินโดฯ-มาเลย์” พิษมาตรการ Zero Palm Oil สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563 https://www.prachachat.net/aseanaec/news-227174
พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง. (2558). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 86 ก หน้า 5
วัชราภรณ์ เสนีชัย ศิริจรรยา เครือวิริยะพันธ์ และ กลุกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์ (2554) พฤติกรรมและปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้เครื่องสำอางสมุนไพรของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 30, หน้า 71-79
ศูนย์พยากรณเศรษฐ์กิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2562). การวิจัยทางธุรกิจ โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและ ธุรกิจ 10 อันดับธุรกิจเด่น 2563 สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563 จากhttp://cebf.utcc.ac.th/upload/analysis_file/file_th_494d18y2019.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18