คุณภาพสินทรัพย์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
คำสำคัญ:
คุณภาพสินทรัพย์, ประสิทธิภาพการดำเนินงาน, สหกรณ์ออมทรัพย์ครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพสินทรัพย์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยอัตราส่วน(CAMELS Analysis) มิติที่ 2 คุณภาพสินทรัพย์ ได้แก่ อัตราการเติบโตของสินทรัพย์ อัตราการหมุนของสินทรัพย์ อัตราส่วนทุนของสหกรณ์ต่อสินทรัพย์ อัตราการค้างชำระของลูกหนี้ และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง ส่งผลต่ออัตราส่วนวัดประสิทธิภาพการดำเนินงาน ได้แก่ ความสามารถในการใช้สินทรัพย์ ความสามารถในการทำกำไร และความสามารถในการให้ผลตอบแทน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 34 สหกรณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างปี 2560-2562 โดยทำการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า อัตราการหมุนของสินทรัพย์ และอัตราส่วนทุนของสหกรณ์ต่อสินทรัพย์ส่งผลในทิศทางเดียวกันกับความสามารถในการใช้สินทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่อัตราการเติบโตของสินทรัพย์ อัตราส่วนทุนของสหกรณ์ต่อสินทรัพย์ อัตราการค้างชำระของลูกหนี้ส่งผลในทิศทางเดียวกัน แต่อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องส่งผลในทิศทางตรงกันข้ามกับความสามารถในการทำกำไร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และอัตราการเติบโตของสินทรัพย์ อัตราส่วนทุนของสหกรณ์ต่อสินทรัพย์ส่งผลในทิศทางเดียวกัน แต่อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องส่งผลในทิศทางตรงกันข้ามกับความสามารถในการให้ผลตอบแทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. 2558. ระบบทะเบียนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร : [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.cad.go.th (11 กุมภาพันธ์ 2563)
กรมส่งเสริมสหกรณ์. 2558. ประเภทสหกรณ์ : [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://webhost.cpd.go.th (11 กุมภาพันธ์ 2563)
พสุ สัตถาภรณ์. (2533). การบริหารงานสหกรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ โอ เอสพริ้นติ้งเฮาส์
นุชจรี พิเชฐกุล. (2553). การรายงานและการวิเคราะหงบการเงิน. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ศิริพักตร์ มอญสร้อย.2559.ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรในอนาคตของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในจังหวัดเชียงใหม่ การค้นคว้าแบบอิสระ (บัญชีมหาบัณฑิต(สาขาวิชาการบัญชี)มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชมพูนุท มนต์ภาณีวงศ์. (2553) การเปรียบเทียบวิธีการทางสถิติของการจำแนกกลุ่มกำไร ขาดทุนของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ.
เลอสิทธิ์ บุญทองดี. 2549. ประสิทธิภาพในการบริหารสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำกัด : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิกานดา ใจสมุทร. อิทธิพลของปริมาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
พีระเดช เดชศราเดโช. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของสหกรณ์เครดิตยู เนี่ยนบางนกแขวก จำกัด จังหวัดสมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สหกรณ์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
ณัฐกาญจน์ นิมมานนวกุล. 2555. อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการทากาไรของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปราณี ตปนียวรวงศ์ 2560. การวิเคราะห์ปัจจัยความมั่นคงทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย = A Factors Analysis of Financial Stability of Saving Cooperative the area of Northern Part of Thailand / ปราณี ตปนียวรวงศ์.
ศุภนิดา วุฒิสมบูรณ์พันธุ์ และผู้แต่งคนอื่นๆ. (2561) ความสัมพันธ์ของผลการดำเนินงานผ่าน CAMELS analysis กับความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ช่วงก่อนและหลังวิกฤตการเงินโลกปี 2008. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์:ม.ป.ท.