ภาวะผู้นำแบบดิจิทัล วัฒนธรรมองค์กร และประสิทธิผลโรงเรียน : กรณีศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2

ผู้แต่ง

  • มานะ ไชยโชติ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, วัฒนธรรมองค์กร, ประสิทธิผลโรงเรียน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปริมาณนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างภาวะผู้นำแบบดิจิทัล และวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อประสิทธิผลโรงเรียน โดยผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามจำนวน 126 ข้อขึ้นมาด้วยตนเอง แล้วนำไปตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีกับอาจารย์ที่ปรึกษาก่อนนำไปทดสอบความตรงเชิงโครงสร้างและความเชื่อมั่น ผู้วิจัยได้นำไปรวบรวมความเห็นจากผู้บริหารและครู โรงเรียนขยายโอกาสในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 จำนวน 399 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลวิจัยพบว่า ตัวแปรหลักและองค์ประกอบทั้งสามมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 รวมถึงมีอิทธิพลต่อการพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียนได้ถึงร้อยละ 75 ด้วยเหตุนี้ ความเป็นพลเมืองดิจิทัลกับวัฒนธรรมองค์กรแบบตามลำดับชั้น คุณภาพ เครือญาติ และการปรับตัวอาจมีผลกระทบต่อประสิทธิผลของโรงเรียนโดยการใช้ข้อมูลและการใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆ

References

ธงชัย สมบูรณ์ (2563). สถานศึกษา: การสร้างค่าองค์กรสมรรถนะสูง. หนังสือพิมพ์มติชนรายวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

วีระศักดิ์ จินารัตน์ (2564). ระเบียบวธีวิจัยสมัยใหม่ (Modern Research Methodology). อุบลราชธานี: สำนักพิมพ์ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป

Afshari, M., Bakar, K.A., Luan, W.S., Samah, B.A. & Fooi, F.S. (2009). Factors affecting teachers’ use of information and communication technology. International Journal of Instruction, 2(1), 77-104.

Chang, I.H. (2012). The effect of principles technological leadership on teachers’ effectiveness in Taiwanese elementary schools. Educational Technology & Society, 15(2), 328-340.

Gray, L., Thomas, N. & Lewis, L. (2010). Teachers’ use of educational technology in U.S. Public schools: 2009 (No. NCES 2010-040).

Khan, S. (2012). The one world schoolhouse: Education remained. New York, NY: Twelve.

Leithwood, K., Louis, K. S., Anderson, S., & Wahlstrom, K. (2004). How leadership influences Student learning: A review of research for the learning from leadership project. New York: The Wallace Foundation.

Ramberg, J., Laftman, S. B., Almquist, Y. B., & Modin, B. (2019). School effectiveness and students’ perceptions of teacher caring: A multilevel study. Improving School, 22(1), 55-71.

Sheninger , E.(2014). Digital leadership: Changing paradigms for changing times. Thousand Qaks, CA: Corwin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18