ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกเสียงเลือกตั้งของเยาวชนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สราวุฒิ งาหอม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การออกเสียงเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political Participation) และการเลือกตั้ง (Voting) ให้แก่พรรคการเมืองและหน่วยงานของรัฐเพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อระบอบประชาธิปไตย โดยผู้วิจัยพัฒนาแบบสอบถามจำนวน 90 ข้อขึ้นมาจากการทบทวนวรรณกรรม ก่อนนำไปรวบรวมความเห็นของเด็กและเยาวชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 และอาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี จำนวน 300 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลวิจัยพบว่า การออกเสียงเลือกตั้งมีค่าเฉลี่ยระดับมาก (3.55) ขณะที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออนไลน์กับปัจจัยที่ส่งผล มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง 3.26 และ 3.16 แนวคิดทั้งสามมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกระดับมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ที่สำคัญ กลุ่มเพื่อน การสืบค้นข้อมูล และการร่วมกลุ่มการเมือง มีอิทธิพลต่อการพยากรณ์การออกเสียงเลือกตั้งได้ร้อยละ 66 เพราะฉะนั้น การรณรงค์ให้เยาวชนได้มีพื้นที่ในการแสดงความเห็นทางการเมืองอย่างปลอดภัยย่อมส่งผลต่อการเลือกตั้งที่มีความเป็นประชาธิปไตย

References

วีระศักดิ์ จินารัตน์ (2564). มาตรฐานงานวิจัยเชิงปริมาณและการพัฒนา (The Standard of Quantitative Research and Development). มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนยีอีสเทิร์น

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด (2563) “นักเรียน นักศึกษา กับการฟื้นตัวกลับมาชี้นำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใหม่อีกครั้ง” หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 22 สิงหาคม 2563

Allen, D. & Light, J.S. (2015). From voice to influence: Understanding citizenship in a digital age. Chicago, IL: University of Chicago Press.

Beam, M.A., Hutchens, M.J. & Hmeilowski, J.D. (2016). Clicking vs. Sharing: The relationship between online news behaviors and political knowledge. Computers in Human Behavior, 59, 215-220.

Cohen, C.J. & Kahne, J. (2012). Participatory politics. New media and youth political action. Chicago, IL: MacArthur Foundation.

Flanagan, C. & Levine, P. (2010). Civic Engagement and the transition to adulthood. The Future of Children, 20(1), 159-179.

Jenkins, H. & Zimmerman, A. (2016). By Any Media Necessary: The New Youth Activism. New York, NY: NYU Press.

Kaid, L.L., McKinney, M. S., & Tedesco, J. C. (2007). Political information efficacy and youngvoters. American Behavioral Scientist, 50,1093-1111.

Kuterovac-Jagodic, G. (2000). Is war a good or a bad thing? The attitudes of Croatian, Israeli, and Palestinian children toward war. International Journal of Psychology, 35 (6), 241-257.

Min, S.J. (2010). From the digital divide to the democratic divide: Internet skills, Political interest and the second-level digital divide in political interest use. Journal of Information Technology & Politics, 7(1), 22-35.

Terriquez, V. (2017). Legal status, civic associations, and political participation among Latino young adults. Sociological Quarterly, 58(2), 315-336.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18