การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสังคมไทยอีสาน

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา กุลประฑีปัญญา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • นิพพาภัทร สินทรัพย์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

สุขภาพจิต, ผู้สูงอายุ, ทฤษฎีสร้างสุข 5 มิติ, ทฤษฎีสร้างนิสัย 21 วัน

บทคัดย่อ

ปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ในสังคมไทยอีสานก็เช่นกัน ตามมาด้วยปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุก็เพิ่มขึ้นด้วย การส่งเสริมสุขภาพจิตเป็นอีกวิธีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสังคมไทยอีสาน 2) พัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ 3) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ (1) แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ฉบับสั้น 15 ข้อ (Reliability α = .81) (2) โปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ วิธีวิจัย ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสังคมไทยอีสาน กลุ่มตัวอย่าง 791 คน 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ 3) ปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุด้วยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติและทฤษฎีสร้างนิสัย 21 วัน  กลุ่มตัวอย่าง 48 คน 4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย และทดสอบสมมติฐานทางสถิติด้วย T-test dependent

ผลของการวิจัยพบว่า (1) ผลการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุในสังคมไทยอีสาน พบว่า ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์เท่ากับเกณฑ์มาตรฐานคนปกติร้อยละ 43.20 รองลงมาร้อยละ 31.00 อยู่ในเกณฑ์ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป แต่มีถึงร้อยละ 25.80 ที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (2) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ ประกอบด้วย มิติที่ 1 สุขสนุก กิจกรรม  รำเซิ้งสุขใจ มิติที่ 2 สุขสบาย กิจกรรมแกว่งแขนเรียกพลัง มิติที่ 3 สุขสว่าง กิจกรรมมือสลับขยับสมอง มิติที่ 4 สุขสงบ กิจกรรมสมาธิบำบัด มิติที่ 5 สุขสง่า กิจกรรมเปิดใจสู่การกอด  (3) ประสิทธิผลของโปรแกรม จากผลการเปรียบเทียบระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุก่อนและหลังเข้าร่วมส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ พบว่าค่าเฉลี่ยก่อนได้รับโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ เท่ากับ 48.27 และหลังได้รับโปรแกรมสร้างสุข 5 มิติ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 55.65 ซึ่งผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตหลังได้รับโปรแกรม สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมมีคุณภาพ มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้านการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลให้สอดคล้องกับปัญหาในสถานการณ์จริง

References

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา. (2562). ผลของการกอดจากใจสู่ใจของอาจารย์เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานครั้งแรกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 3 (1), 80-94.

กัญญาวีร์ เปี้ยนสีทอง, นพดล อินทร์จันทร์และศรีรัฐ ภักดีรณชิต. (2561). การบริหารกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ โดยใช้กิจกรรมนาฏศิลป์บำบัด สำหรับชุมชนไทยพวน จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 6 (1), 126-136.

เกศินี แซ่เลาและวิชิต คะนึงสุขเกษม. (2012). ผลของการออกกำลังกายด้วยการแกว่งแขน การเดิน และการเดินตามด้วย การแกว่งแขนที่มีต่อสุขสมรรถนะของผู้สูงอายุหญิง. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 13 (1), 93-102.

ขนิษฐา เนียมแสงและคณะ. (2557). การสัมผัสบำบัดด้วยการกอด: จิตอาสาสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม. Veridian E- Journal, Silpakorn University ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7 (1), 111-123.

คณาวุฒิ คำพินิจและคณะ. (2557). ผลการใช้แบบบันทึกความดี ในการปลูกจิตสํานึกเชิงจริยธรรมด้านความเคารพของ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษารองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 3 (2), 96-110.

จีระณัฐ มานะดีและ จุฬาภรณ์ โสตะ. (2556). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับกระบวนการกลุ่มในการส่งเสริมพฤติกรรมออกกำลังกายด้วยการรำเซิ้งในผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7 (1), 1-9.

จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์) ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารกึ่งวิชาการ, 38 (1), 6-28.

ชัชญาภา สมศรี,พิกุลทอง โมคมูล. (2560). ผลของกิจกรรมสร้างสุข 5 มิติ ต่อความสุขของผู้สูงอายุในคลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 3 (2), 1-12.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่10.กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

ณัฐิกา ราชบุตร และ คณะ. (2560). การศึกษาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันโรคซึมเศร้าเชิงสังคม และ วัฒนธรรมในผู้สูงอายุตำบลดอนมนต์อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสาร มฉก.วิชาการ, 20 (40), 115-125.

ดวงเนตร ธรรมกุลและเทียมใจ ศิริวัฒนกุล.(2560). กอด: สัมผัสรักพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26 (3). 1-12.

ธัชกร โบว์แดง เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์ และราชันย์ บุญทิมา. (2558). การฝึกสมาธิแบบอาณาปานสติที่มีผลต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานบัญชี. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 93-102.

นริสา วงศ์พนารักษ์. (2556). การสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6 (2), 160-164.

พิสุทธ์ ศรีอินทร์จันทร์ และบุญมา วุนทราวิรัตน์ (2560). สุขภาพจิตผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุ: มุมมองประชาสังคม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 36 (2). 203-210.

ภาวิน ทองไชย. (2556). สุขภาพจิตและการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิมล จังสมบัติศิริและอรุณี ไชยฤทธิ์. (2558). ผลของการออกกำลังกายโดยการแกว่งแขนอย่างน้อยวันละ 30 นาที ต่อการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 33 (4), 112-120

วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2554). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สุภาวดี ไชยเดชาธร , ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน และกชกร แก้วพรหม. (2558). สุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างแกนนำชมรมผู้สูงอายุจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 21 (1), 31-40.

สุดารัตน์ นามกระจ่าง, ลักษณ์ สมรัตน์และอนัญญา เดชะคำภู. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ กรณีศึกษาในผู้สูงอายุตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญจังหวัดศรีษะเกษ. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ (หน้า 700-709). ขอนแก่น; มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสาวลักษณ์ เรืองเกษมพงษ์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). เข้าสู่วัยเก๋า ด้วยสุข 5 มิติ. สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th/Content/40201-เข้าสู่วัยเก๋า%20ด้วยสุข%205%20มิติ.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2554). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. สมุทรปราการ: แอดวานซ์ พริ้นติ้งเซอร์วิสจำกัด.

อารี นุ้ยบ้านด่าน รัดใจ เวชประสิทธิ์และดวงสุดา วงศ์ช่วย. (2559). บทความวิจัยผลของการฝึกปฏิบัติสมาธิแบบสมถะ โดยภาวนาพุทโธ ต่อคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36 (พิเศษ), 29-39.

Maxwell, Maltz. (2013). Psycho-Cybernetics, A New Way to Get More Living Out of Life. Retrieved from http://www.thaihealth.or.th/data/ecatalog/202/pdf/202.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-17