อิทธิพลของลักษณะงานและสภาพแวดล้อมที่มีต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • ประภากร ใจบุญ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความเครียดในการปฏิบัติงาน, ลักษณะงาน, สภาพแวดล้อมการทำงาน

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดในการปฏิบัติงาน และอิทธิพลของลักษณะงานและสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ บุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 287 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบ Independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้น ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความเครียดในปฏิบัติงานอยู่ในระดับต่ำ ลักษณะงานด้านความหลากหลายของทักษะ ด้านการได้รับข้อมูลย้อนกลับของงาน ด้านความเด่นชัดของงาน ด้านความอิสระในการทำงาน ด้านความสำคัญของงาน และสภาพแวดล้อมการทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัย ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านคุณลักษณะทางสังคมของงาน ด้านค่าจ้าง ด้านโอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านการนิเทศงาน ด้านสวัสดิการหรือผลประโยชน์อื่น ๆ ด้านคุณลักษณะเฉพาะงาน ด้านสภาพการทำงาน และด้านองค์การและการจัดการ มีอิทธิพลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานในด้านร่างกาย ด้านจิตใจและด้านพฤติกรรมของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. (2563). ผ่า 4 กลุ่มความเครียดที่กระทบสุขภาพ เครียดแบบเราจัดอยู่กลุ่มไหน. สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน 2563 สืบค้นจาก
https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30321

กองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2552). ทฤษฎีเกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสาร. สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน 2563 สืบค้นจากhttp://203.157.7.150/frontend/theme/view_general_data.php?

กล้าหาญ ณ น่าน, วันชัย ประเสริฐศรี, อลงกรณ์ ทิพย์เนตร และรุ่งฤดี กุลสิงห์. (2556).แบบจำลองเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวในการทำงานของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยในเขตจังหวัดปทุมธานี. (งานวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนา,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)

เคมีพนธ์ แสงแก้ว. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานกับความเครียดในการทำงานของพนักงานเทศบาลเมืองท่าข้าม. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

จารุวรรณ สืบนุช. (2556). ความเครียดจากการทำงานของพนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดสมุทรสาคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง)

ชญาภา วริวรรณ. (2552). การสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 . (มหาวิทยาลัยรามคำแหง: กรุงเทพฯ)

เธียรชัย งามทิพย์วัฒนา และคณะ. (2543). ความเครียดและรูปแบบการแก้ปัญหาของนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.

ฐาปนี วังกานนท์ (2556). ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัท แอมพาส อินดัสตรี จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี)

นวลักษณ์ กลางบุรัมย์. (2556). เทคนิคการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน กรุงเทพมหานคร: นวลักษณ์.

ประกายรัตน์ สุวรรณ, อมรวิทย์ วิเศษสงวน.(2555).การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 20.กรุงเทพๆ : สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ประสาน พรมณฑลธรรม. (2550). ความเครียดเพชฌฆาตเงียบ. กรุงเทพมหานคร: มายิก

ปรีชา อินโท. (2554). ความเครียดและวิธีคลายเครียด. สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน 2563 สืบค้นจากhttp: // www.Psclib.com/trs/opac

ปัทมาวดี อุดแดง. (2555). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความเครียดของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2555). ที่มาของความเครียดในการทำงาน. สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน 2563 สืบค้นจาก
http://oknation.nationtv.tv/blog/piyanan/2012/01/18/entry-1

ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ฮาซันพริ้นติ้ง.

สิริอร วิชชาวุธ. (2553). จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 3), กรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อดิศร พูลสุวรรณ. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการทำงานและการรับรู้ความเสี่ยงกับความเครียดในการทำงานกรณีศึกษา: พนักงานฝ่ายผลิต บริษัท ฮิตาชิ
โกลบอลสตอเรจเทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด . (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

อรนิชา ชื่นจิตร. (2560). บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Decenzo, Stephen. (2007). Human Resource Management, 7th ed. New York.

Dunnette, M. D. & Hough, L. M. (1990). Handbook of industrial and organization psychology. California: Consulting Psychologist Press.

Gilmer, B. H. (1973). Industrial psychology. New York: McGraw - Hill.

Hackman, J. R. & Oldham, G. R. (1980). Work redesign Boston: Addison - Wesley Publishing.

Schultz, P. D. & Schultz, E. S. (2002). Psychology & Work (8th ed.). USA.: Von Hoffman Press, Inc.

Yamane, T. (1973).Statisties: An Introductory Analysis. Tokyo: Harper International Edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18