อิทธิพลของภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เครือข่าย การมีส่วนร่วม ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของวิสาหกิจเพื่อสังคม : กรณีศึกษาเครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีเพชรบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ รังคสิริ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม, เครือข่าย, การมีส่วนร่วม, วิสาหกิจเพื่อสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม, เครือข่าย, การมีส่วนร่วม และประสิทธิผลของบริษัท ประชารัฐสามัคคีเพชรบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด (2) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมระหว่างภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เครือข่าย และการมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของบริษัท ประชารัฐสามัคคีเพชรบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ตลอดจนการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลของบริษัท ประชารัฐสามัคคีเพชรบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคือ แกนนำของกลุ่มเป้าหมายที่บริษัทประชารัฐรักสามัคคีเพชรบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ดำเนินการร่วมกับ คณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐ ประจำจังหวัด (คสป.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีการตอบกลับทุกฉบับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สมการโครงสร้างโดยการใช้โปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบสมการโครงสร้าง ภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม มีอิทธิพลทางตรงโดยรวมต่อประสิทธิผลของบริษัทประชารัฐเพชรบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวแปรภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม เครือข่าย การมีส่วนรวมทั้ง 3 ตัวแปร ร่วมกันอธิบายความผันแปรของประสิทธิผลของบริษัทประชารัฐรักสามัคคีเพชรบุรี (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด ได้ร้อยละ 49 นอกจากนี้ ภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม ยังสามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรผ่านตัวแปรเครือข่าย และการมีส่วนร่วมได้ร้อยละ 52 และ 60 ตามลำดับ ค่าสถิติที่ใช้วัดความกลมกลืน ได้แก่ ค่าไค-สแควร์  c2 = 0.00 ที่องศาอิสระ (df) = 0 ค่าความน่าจะเป็น (p) = 1.00 จึงสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

References

ญาณวุฒิ สุพิชญางกูร. (2559). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลของศูนย์บริการวิชาการ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนาองค์การ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.

นิรมล กุลศรีสมบัติ,และพรสรร วิเชียรประดิษฐ์. (2556). กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการชุมชนของประเทศญี่ปุ่น. การประชุมวิชาการระดับชาติ "การพัฒนาคน ชุมชน องค์การ และสังคม พัฒนบริหารศาสตร์กับทางเลือกใหม่ด้านการพัฒนาในอนาคต,” 13-14 มิถุนายน 2556, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พรชัย ศักดานุวัฒน์วงศ์. (2558). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมและประสิทธิผลขององค์การในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารธุรกิจ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พิตรพิบูล ไชยเมือง. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริหารจัดการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 : มกราคม - เมษายน 2558, หน้า 44-52.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมที่มีอิทธิพลต่อภาพลักษณ์องค์การของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วารสาร สมาคมนักวิจัย ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2558, หน้า 48-58

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์และ สุรมน ไทยเกษม. (2560). อิทธิพลของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 244-253.

วธู โ รจนวงศ์. (2559). การพัฒนาโมเดลสนับสนุนการดำเนินกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมเกียรติ สกุลสุรเอกพงศ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1, หน้า 139-161

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2554). Governing By Network : The New Shape of the Public Sector ในหนังสือเวทีนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ.ร.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบุรี. (2562). รายงานการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ประจำปี พ.ศ.2562. เพชรบุรี: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเพชรบุรี.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิดคู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ส เจริญการพิมพ์.

Agranoff, Robert. (2006). Inside Collaborative Networks: Ten Lessons for Public Managers. Public Administration Review, 66(s1), pp. 56–65.

Candace Jones, William S. Hesterly & Stephen P. Borgatti. (1997). A general theory of network governance: Exchange conditions and social mechanisms. The Academy of Management Review. Vol. 22, No. 4 (Oct., 1997), pp. 911-945

Coggins, E. (2009). Five Characteristics of social enterprenuership. Retrieved April 12, 2015, from www.suite101.com

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Participation : Concept and Measures for Project Design. London : Gan, L.

Defourny, J. & Kim, S. (2011). Emerging models of social enterprise in Eastern Asia: a cross-country analysis. Social Enterprise Journal, 7(1), 86-111.

Donaldson, G. A. (2001). Cultivating leadership in school. New York: Teachers College Press.

Eggers, William D. & Stephen Goldsmith (2005). Government by Network The New Public Management Imperative. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.ร.

Elkington, J. (1997) . “Cannibals with forks - the triple bottom line of twenty-first century Business”. Mankato, MN: Capstone.

EMES European Research Network. (1999). The Emergence of Social Enterprises In Europe. A Short Overview. Brussels: EMES.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G. & Buchner, A., 2007, p.124-125)

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010) Multivariate Data Analysis. 7th Edition, Pearson, New York.

Jacobs, T. O. & Elliott, Jaques. (1990). Military Executive Leadership. Measures of Leadership. Greenboro: Center for Creative Leadership.

Le Blanc, D. (2015). Towards Integration at Last? The Sustainable Development Goals as a Network of Targets. Sustainable Development, 23(3), 176-187.

Rifkin. (1986). “Participation Place in Rural Development : Seeking Clarity through Specificity,” World Development. 8 (3) : 223.

Robert Agranoff & Michael McGuire (2003). Collaborative Public Management: New Strategies for Local Governments. Washington, D.C: Georgetown University Press.

UK Department for Trade and Industry. (2002). Social Enterprise: A Strategy for Success. Retrieved August 20, 2014 from https://www.gov.uk/government/organisations/uk-trade-investment

Waldman, David A. (2007). Best Practices in Leading at Strategic Levels: A Social Responsibility Perspective in Jay A. Conger and Ronald E. Riggio, (Eds), The Practice of Leadership, San Francisco: Jossey-Bass.

William Erwin. (1976). Participation Management: Concept, Theory and Implementation.Atlanta, GA: Georgia State University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18