การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้านและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นการสื่อสาร และมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สำหรับเด็กออทิสติกระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ ปากหวาน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยาภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, เทคนิคฟอร์ไทม์, การเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้าน, กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์, การมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น, การสื่อสาร, การมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์, เด็กออทิสติก, ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้าน และกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์  มีดัชนีประสิทธิผล(E.I.) ตามเกณฑ์  2) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้านและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สำหรับเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่มที่สร้างขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสาร ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้านและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สำหรับเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่มที่สร้างขึ้น หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 4) เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้านและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สำหรับเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ที่สร้างขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นเด็กออทิสติก  จำนวน 5 คน ที่เข้ารับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม(EI)และเตรียมความพร้อมที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดมุกดาหาร  ปีการศึกษา 2561  ซึ่งผู้วิจัยใช้เด็กออทิสติก เป็นกลุ่มทดลองได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selected)  จำนวน 5 คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้านและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์สำหรับเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม 2) แบบประเมินพัฒนาการของเด็กออทิสติก 3 ด้าน คือ ด้านการมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้านการสื่อสาร และด้านการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล(Effectiveness Index : E.I.)  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.) ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้าน และกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ ที่ส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การสื่อสารและมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ สำหรับเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม มีค่าเท่ากับ 0.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้  2.) การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นของเด็กออทิสติก ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้านและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สำหรับเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  3.) การสื่อสารของเด็กออทิสติก ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้านและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ สำหรับเด็กออทิสติก ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  4.) การมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของเด็กออทิสติก ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคฟลอร์ไทม์ร่วมกับเล่นปนเรียนแบบพื้นบ้านและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์  สำหรับเด็กออทิสติก  ระดับช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

References

กรมพลศึกษา. (2558). กิจกรรมนันทนาการสำหรับเด็กพิการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักนันทนาการ.

กิ่งแก้ว ปาจรีย์. (2553). คู่มือการพัฒนาเด็กออทิสติกแบบองค์รวม(เทคนิค DIR/ฟลอร์ไทม์). พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพฯ : พิมพ์สี.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : แดเน็ซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

ชูศรี วงศ์รัตนะ และองอาจ นัยพัฒน์. (2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์ : แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : ไทเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ จำกัด.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย หลักการและแนวคิด เทคนิคการเขียนรายงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : บริษัท แอคทีฟ พริ้น จำกัด.

ต้อยติ่ง. (2559). เล่นสนุก เล่นแบบไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์ จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2559). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

เบญจมาศ พระธานี. (2554). ออทิสซึม : การสอนพูดและการรักษาบำบัดแบบสหสาขาวิทยาการ. พิมพ์ครั้งที่ 1 . มหาวิทยาขอนแก่น : มหาวิทยาขอนแก่น.

มณี ผ่านจังหาร. (2545). การสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน. วิทยานิพนธ์. กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ. (2554). ดอกแก้วกัลยา ชวนน้องเล่น “ของเล่นเพื่อพัฒนาเด็กพิการ” เล่มที่ 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ปิ่นโต พับลิชชิ่ง ในเครือบริษัท ปิ่นโต ครีเอชั่น จำกัด.

ประภัสสร ปรี่เอื่ยม. (2548). การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ. เอกสารประกอบการสอน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ปัทมมา บันเทิงจิต. (2548). การศึกษาทักษะทางสังคมด้านการละเล่นกับเพื่อนของเด็กออทิสติก โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทยประกอบกับการสื่อด้วยภาพ. สารนิพนธ์. กศ.ม. (การศึกษาพิเศษ) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2541). ทฤษฎีและเทคนิค : การปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุเทพฯ : จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2558). หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2558. (อัดสำเนา).

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2558). คู่มือหลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2558. (อัดสำเนา).

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2558). แนวทางจัดกิจกรรมตามหลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2558. (อัดสำเนา).

ศิริพร เลิศพันธ์. (2548).ผลการพัฒนาทักษะทางสังคมด้านการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัจฉิมา อ่อนน้อม. (2549). ผลการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทยต่อการพัฒนาสัมพันธภาพของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน)กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18