ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • อัมพิกา สิริพรม คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารวิชาการ, สมรรถนะผู้เรียน, ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) ซึ่งมีการวิจัยทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยใช้สูตรขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของ Yamane (1973: 398) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (Confidence Interval) โดยยอมให้เกิดความคลาดเคลื่อน (e) ±5% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นพบว่า การบริหารวิชาการโรงเรียนที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การพัฒนาหลักสูตร รองลงมา คือ การวัดและประเมินผล และการพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามีความจำเป็นต่ำที่สุด และเมื่อพิจารณาสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก พบว่า ความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ สมรรถนะการคิดเชิงนวัตกรรม รองลงมา คือ สมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ และ สมรรถนะการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนมีความจำเป็นต่ำที่สุด

References

กรุณา วงษ์เทียนหลาย. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมตามแนวคิดสมรรถนะนวัตกรของนักเรียนพยาบาล (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต), คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ. (2561). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล. (2561) พัฒนากำลังคนโลจิสติกส์ ยกระดับสมรรถนะตอบรับงาน EEC [ออนไลน์] แหล่งที่มา:
https://www.khaosod.co.th/uncategorized/news_1337619.

พัชรี จันทร์เพ็ง. (2545). เอกสารประกอบการสอนวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0 [ออนไลน์] แหล่งที่มา: https://www.eeco.or.th.

สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี. (2561). โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) [ออนไลน์] แหล่งที่มา: https://pmdu.soc.go.th/eec-2/3986.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพฯ: บริษัท 21เซ็นจูรี่ จำกัด.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2555). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วย Competency based HRM. (พิมพ์ครั้งที่ 1 ed). กรุงเทพฯ:สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคํา. (2546). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

อาจารี สุวัฒนพงษ์. (2558). กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18