ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุนและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุธิมา เกิดสุข คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ผศ.ดร.ดวงพร พุทธวงค์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัยจูงใจ, ปัจจัยค้ำจุน, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพัน

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุนและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ พนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้แก่ นักวิจัย พนักงานสายงานวิชาการและสายงานสนับสนุน จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบ Independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสมการถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยจูงใจด้านความก้าวหน้าในงาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านความรับผิดชอบ ปัจจัยค้ำจุนด้านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ด้านสวัสดิการ ด้านเงินค่าตอบแทน (โบนัส) และด้านเงินเดือน และคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านลักษณะงานมีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับสังคมโดยตรง และด้านลักษณะงานที่ตั้งอยู่บนฐานของกฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรม มีผลทางบวกต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กาญจนา พันธ์ศรีทุม.(2559). อิทธิพลของปัจจัยด้านความยึดมั่นผูกพันในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของพนักงานรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กฤษดา เชียรวัฒนสุข, นิกร ลีชาคำ, และมรกต จันทร์กระพ้อ. (2562). สภาพแวดล้อมในการทำงานและแรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพทีมงาน: ข้อมูลเชิงประจักษ์จากบริษัทผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(2), 219-230.

ธนัญพร สุวรรณคาม.(2559). ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปรานอม กิตติดุษฎีธรรม . (2537). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของลูกจ้างต่อองค์กร : ศึกษา เฉพาะกรณีอุตสาหกรรมสิ่งทอประเภทการทอผ้าด้วยเส้นใยฝ้าย และเส้นใยประดิษฐ์. วิทยานิพนธ์,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แผนทรัพยากรบุคคล.(2561). แผนทรัพยากรบุคคลสำนักทรัพยากรบุคคลปี พ.ศ. 2560 – 2564. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ภัทร์ศยา จันทราวุฒิกร.(2558). คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4.(วารสารวิจัยทางการศึกษา,มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ)

รายงานประจำปี. (2562). รายงานประจำปีสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ศิริวรรณ ตันตระวิวัฒน์. (2530). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม: ศึกษาเฉพาะกรณีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สมภพ แสงจันทร์.ประสาท อิศรปรีดาและดร.สุเทพ ทองประดิษฐ์. (2555). ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน ที่สัมพันธ์กับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. (2)32-38

โสภา ทรัพย์มากอุดม. (2533). ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ. สารนิพนธ์,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณัฏฐ์พัชร์ ลาภบำรุงวงศ์. (2562). การประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญาและคำรณ โชธนะโชติ. (2562). อิทธิพลของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหิดล.วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. มหาวิทยาลัยมหิดล. (2)300-333

Brown, W. B. and D. J. Moberg. 1980. Organization Theory and Management: A Macro Approach. New York: John & Sons.

Mensah. (2014). ผลกระทบของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อการคงอยู่ของพนักงานของธนาคารพาณิชย์ กรุงอักกรา สาธารณรัฐกานา (A three-component conceptualization of organizational commitment”. Human Resource Management Review)

Frederick Herzberg. ทฤษฎี 2 ปัจจัย. สืบค้นจาก (http://www.allianceth.com/)

Robbins, S. P . 2000. Organizational Behavior. (9th ed.). New Jersey : Prentice Hall

Walton. (1975). Criteria for Quality of Working Life. In Loues E. Davis and Albert B. Cherns (eds.). The Quality of Working Life. New York: Free Press.

Yamane, Taro.1973. Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18