การอนุรักษ์และพัฒนานาฏยศิลป์ของภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ปภาวรินท์ ณ พัทลุง คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การอนุรักษ์และพัฒนานาฏยศิลป์, นาฏยศิลป์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์การแสดงที่อนุรักษ์และพัฒนาของภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ออกแบบวิธีการดำเนินการวิจัย โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 กำหนดระยะเวลาในการดำเนินวิจัย สรุปหัวข้อและร่างโครงร่างการศึกษาส่งอาจารย์ที่ปรึกษา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากหนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องจากภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมไปถึงศึกษาข้อมูลจากวีดีทัศน์และสื่อต่าง ๆ และสัมภาษณ์ผู้มีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลที่สนองวิสัยทัศน์และพันธกิจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขั้นตอนที่ 4 สรุปผลการศึกษาและการนำเสนอผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ จากการวิจัยสามารถแบ่งได้ 3 ประเด็นคือ 1) ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับบทบาทการอนุรักษ์และพัฒนา 2) ผลงานของภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3) การวิเคราะห์ละครภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้วิจัยจะสรุปข้อมูลอันเป็นบทวิเคราะห์ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับบทบาทการอนุรักษ์และพัฒนา เปรียบเสมือนชุมชนที่ประกอบไปด้วยทรัพยากรต่าง ๆ ประเด็นที่ 2 ผลงานของภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชานาฏยศิลป์ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้นิสิตได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ประเด็นที่ 3 การวิเคราะห์ละครภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งเน้นผลิตศิลปินบัณฑิตที่มีความสามารถในการแสดงที่หลากหลาย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. กระทรวงวัฒนธรรม. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564). จาก https://moc.ocsc.go.th/sites/default/files/00_1_khmuulthawaip_3.pdf

ฝ่ายบริหาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). ชื่อหน่วยงาน ที่ตั้ง และประวัติความเป็นมาโดยย่อ. รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2562. หน้า 2-3

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. คณะศิลปะนาฏดุริยางค์. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2563). จาก http://www.bpi.ac.th/index.php/th/about-us/department/department5/item/789-de5-1
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2557). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานาคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม. นโยบายและยุทธศาสตร์ส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมสมัย (พ.ศ 2560-2564). (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 7 มกราคม 2564). จาก https://ocac.go.th/wp-content/uploads/2019/06/แผนยุทธศาสตร์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน.pdf. หน้า 13

สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. แผนอุดมศึกษาระยะ ยาว 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 7 มกราคม 2564). จากhttp://www.mua.go.th/users/bpp/main/download/plan/plan20yrs.pdf. หน้า 1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18