การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษา ในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • อรพิน รอว์ลี่ สาขาวิชาบริหารการศึกษา,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร. บุษกร เลิศวีระศิริกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารโรงเรียน, ทักษะชีวิต, เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียน  หัวหน้าฝ่ายวิชาการและ ผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนเอกชนที่ตั้งในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง จำนวน 88 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด และแบบสอบถาม โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนและการพัฒนาทักษะชีวิตนักเรียน สภาพปัจจุบันพบว่าทั้งสองด้าน มีปฏิบัติงานในระดับมากตามกรอบการบริหารโรงเรียนและกรอบการพัฒนาทักษะชีวิต ด้านการบริหารโรงเรียนอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} =4.0621, SD = 0.5198) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตรและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การวัดผลและประเมินผล ด้านการพัฒนาทักษะชีวิตอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} =4.0621, SD = 0.5198) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านจิตใจและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านสมอง  สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากทั้งสองด้าน ด้านการบริหารโรงเรียนอยู่ในระดับ ดีมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.6664, SD = 0.4585) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ  การพัฒนาหลักสูตรและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ งานกิจการนักเรียน ด้านการพัฒนาทักษะชีวิตอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x}  =4.6700, SD = 0.4590) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านจิตใจและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือด้านสมอง

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). รายงานสถานการณ์ทางสังคม ระดับกลุ่มจังหวัด จังหวัด ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และตราด ประจำปี 2561. สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3.ชลบุรี

กระทรวงยุติธรรม. (2562). จำนวนร้อยละของคดีที่เป็นการกระทำผิดซ้ำที่ดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อ เมษายน 4, 2563 จาก http://www.djop.go.th/stat/statbetween2008-2011/item/310

กระทรวงสาธารณสุข. (2555). 6 คำถามสร้างทักษะชีวิต: ประสบการณ์สำหรับครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต. นนทบุรี: หจก. จูนลายมอร์นิ่ง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ.

เดลินิวส์. (2562). สพฐ.กำจัดจุดอ่อนปรับการวัดผลและประเมินผลในห้องเรียน. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 15, 2563, จาก https://www.dailynews.co.th/education/730653

ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 2, 2563, จาก https://sites.google.com/site/anansak2554/thvsdi-kar-reiyn- ru-khx-ngblum

ธงชัย สันติวงษ. (2537). องค์การและการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร, โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2550). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. ประสานการพิมพ์ : กาฬสินธุ์.

พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ. (2559). เอกสารประกอบการสอน การวัดผลและประเมินผล Educational Measurement and Evaluation. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2557). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ออฟเคอร์มิสท์.ศิริชัย

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2559). คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้าน การดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน เด็กวัยเรียน 6-12 ปี. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่ง ประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร.

วิจารณ์ พาณิช (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. กรุงเทพมหานคร.

วิภาวรรณ โชติสวัสด์. (2555). การบริหารงานกิจการนักเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2552 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดกาญจนบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ส.วาสนา ประวาลพฤกษ์. (2544). คู่มือการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาเรื่อง “หลักและเทคนิคการประเมิน ทางการศึกษา”. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมนแนจเม้นท์.

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตรยุคปฏิรูปการศึกษาไทย.เชียงใหม่: The Knowledge Centre

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออก พ.ศ. 2560-2565. กรุงเทพมหานคร.

สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 2561-2580 ฉบับราชกิจจานุเบกษา. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. กรุงเทพมหานคร.

อณัญญา เรืองวานิช และนันทิยา น้อยจันทร์. (2557). แนวทางการบริหารงานกจิการนักเรียนของโรงเรียนนนทบุรีพิทยาคมสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ. ปีที4 ฉบับที7 กรกฎาคม-ธันวาคม 2557

Anyon, J. (2005). Radical possibilities. New York: Routledge.

Barton, P. E. (2003). Parsing the achievement gap. Preinceton, NJ: Education Testing Service

Dewey, J. (1916). Democracy and education: An introduction to the philosophy of education. New York: Free press.
.
Gordon, E. W. &Rebell, M. (2007). Toward a comprehensive system of education. Teacher College Records. Vol 109 No. 7 pp. 1836 – 1843.

Hendricks P.A. (1996). Targeting Life Skills Model. Iowa State University Extension. Ames, IA. สืบค้นเมื่อ มกราคม 12, 2560 จาก http://www.extension. iastate.edu/4H/explore

Hopkins, C.D. and Antes, R.L. (1990). Classroom Measurement and Evaluation. (3 rd ed.). Itasc, IL : F.E. Peacock.

Sowell, E. (2000). Curriculum: An intergrative introduction (2nd ed.). Upper Saddle River, NJ:Merrill Prentice Hall.

Webb, L. D., Metha, A. & Jordan, K. F. (2003). Foundation of American education (4th ed.). Upper Saddle River, NJ: Merrill Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18