บทบาทภาครัฐในการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

ผู้แต่ง

  • ชฎาภรณ์ สิงห์แก้ว คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค าแหง
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิพนธ์ โซะเฮง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัด ลวางกูร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อาจารย์ ดร. ศราวุฒิ อารีย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บทบาทของภาครัฐ, อาชญากรรมไซเบอร์, อาชญากรรมไซเบอร์ทางเศรษฐกิจและสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทภาครัฐในการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (2) ปัญหาและอุปสรรคของภาครัฐในการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม และ (3) ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ บุคลากรในภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษาวิจัยได้กระท าในช่วงปี 2557 - 2562 โดยนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทภาครัฐ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการภัยคุกคามอาชญากรรมไซเบอร์ แนวคิดเกี่ยวกับอาชญากรรมและการป้องกันอาชญากรรม แนวคิดเกี่ยวกับภัยคุกคามอาชญากรรมไซเบอร์ และแนวคิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งชาติเป็นกรอบในการวิจัย การวิจัยในครั้งนี้
ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยมีการพัฒนาด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อาชญากรรมไซเบอร์จึงเป็นภัยที่ไทยต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การโจมตีระบบ การขโมยข้อมูล การปลอมบัญชีโซเชียลมีเดียและภัยคุกคาม ไซเบอร์อื่น ๆ มีปรากฏอย่างต่อเนื่องอาชญากรรมทางไซเบอร์จึงถือเป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อผลประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนความมั่นคงของประเทศซึ่งภาครัฐเล็งเห็นความส าคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ภาครัฐจึงได้ผลักดันร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และร่างพระราชบัญญัติข้อมูลส่วนบุคคล ในสมัยรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม
2562 เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมั่นคงและปลอดภัย ซึ่งก าหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการรักษา - ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานและขับเคลื่อนนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศ

References

จิรโชค วีระสย, สุรพล ราชกัณฑารักษ์ และสุรพันธ์ ทับสุวรรณ. (2551). รัฐศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์- มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุลชีพ ชินวรรณโณ. (2546). ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21: ประเทศไทยกับแนวคิดยุทธศาสตร์และความมั่นคงจากอดีตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร- สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

ดนัยวัฒนา รุ่งอุทัย. (2558). ความร่วมมือต้านความมั่นคงของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้อาเซียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2541). อาชญากรรม. กรุงเทพฯ: พรทิพย์การพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2531). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช. โสฬส

พินิจศักดิ์. (2526). การยอมรับบทบาทของบุคลากรด้านอาชญาวิทยาในการบัญชาการต ารวจนครบาล.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม), มหาวิทยาลัยมหิดล.

อริย์ธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2560). ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ, สำนกงานเลขาธิการสภา- ผู้แทนราษฎร.

อัณณพ ชูบ ารุง. (2532). ทฤษฎีอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. Beccaria, c. (1963). On

crime &punishment Indianapolis. New York: Bobbs- Merill. Cohen, B. J. (1978). Introduction to sociology. New York: McGraw-Hill.

Marketing Oops. (2018). Cyber Security Archives. Retrieved April 12, 2019, from
https://www.marketingoops.com/tag/cyber-security/

Mariam, D. C., & Florian, J. E. (2019). The Politics of Cybersecurity: Balancing Different Roles of the State. St Antony’s International Review, 15(1): 37-57.

Quinney, R. (1970). The Social Reality Crime. Boston: Little Brown.

Reckless, W.C. (1967). The Crime Problem. New York: Apple-ton Century Crofts.
Sutherland, E. EL, & Cressey, F. G. (1966). Communication of Innovation: A Cross Culturach Approach. New York: The Free.

ThaiPR.NET. (2560). ภัยคุกคามรูปแบบใหม่บน ioT อีเมล์และคลาวด์. Retrieved 15 August 2018, from
https://www.ryt9.eom/s/prg/2727778

Whitman, E. M., & Mattord, J. H. (2005). Principles of information security (2rd ed.). New York:Thomson Course Technology.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18