โมเดลการพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล 4.0 ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชลิต ผลอินทร์หอม บริษัท เดอะ ไดนามิค โค้ชชิ่ง จำกัด
  • ไกรวิทย์ หลีกภัย บริษัท เดอะ ไดนามิค โค้ชชิ่ง จำกัด

คำสำคัญ:

ทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชี, ทักษะด้านอาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล 4.0, คุณภาพการสอบบัญชี, ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

บทคัดย่อ

สำหรับการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลการพัฒนาทักษะด้านอาชีพต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 4.0 และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 4.0โดยทำการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์การพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล 4.0 ในเขตกรุงเทพมหานคร มีตัวแปรตามซึ่งจำแนก ออกเป็น 2ด้านดังนี้ 1) ทักษะด้านวิชาชีพบัญชียุคดิจิทัล ได้แก่ 1.ด้านวิชาชีพบัญชี 2. ด้านภาษีอากรธุรกิจ3.ด้านคุณค่าทางวิชาชีพ 4. ด้านภาษา 5. ด้านการบริหารการจัดการ และ 2)ทักษะด้านสารสนเทศในยุคดิจิทัลได้แก่ 1.ด้านความสามารถในการกำหนดประเภทและขอบเขตสารสนเทศทางบัญชี 2.ความสามารถในการเข้าถึงสระสระสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ด้านความสามารถในการประเมินสาระสนเทศทางบัญชีและแหล่งสารสนเทศทางบัญชี 4. ด้านความสามารถในการใช้สารสนเทศทางบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับตัวแปรตาม ได้แก่ ผู้สอบบัญชี ในเขตกรุงเทพมหานครงานวิจัยนี้ได้กำหนดขอบเขตการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน การที่เลือกเป็นผลจากการที่เป็นกลุ่มนักวิชาชีพบัญชีทางด้านการตรวจสอบและรับรองงบการเงินให้แก่ธุรกิจต่างๆทั้งขนาดย่อมและขนาดใหญ่ซึ่งถือว่าเป็นวิชาชีพบัญชีที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการดำเนินงานทางธุรกิจในประเทศไทยทำการศึกษาการวิจัยรูปแบบการผสมผสานการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL 8.80 เพื่อทำการเปรียบเทียบถึงความกลมกลืนระหว่างโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยเกณฑ์ในการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน(GFI)มีค่าเท่ากับ 1.000 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.9680 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ 1 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.02104 ซึ่งเข้าใกล้ศูนย์ ซึ่งผลการวิจัยสามารถใช้โมเดลการพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล 4.0 ในเขตกรุงเทพมหานคร

References

กัญจน์ชญา ไชยชมภู. (2552). ความรู้ความสามารถและความต้องการใช้ระบบสามารถสารสนเทศทางการบัญชีของผู้บริหารธุรกิจโรงแรมจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

กาญจนา สิริกุลรัตน์และคณะ. (2553). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย และดนุชา คุณพนิชกิจ, (2555). IES2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีทางการบัญชี จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 34 (134), น.123-138.

คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี. (2550). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 3 เรื่อง ความรู้และความสามารถ ทางวิชาชีพ [เอกสารประกอบการสัมมนา]. กรุงเทพฯ: สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรม ราชูปถัมภ์.

ชัพวิชญ์ คำภิรมย์. (2554). ผลกระทบของความรู้ความสามารถทางการบัญชีและประสบการณ์ด้านการสอบบัญชี ที่มีต่อความสำเร็จในการทำงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. มหาสารคาม : คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยสารคาม.

ชนิดา สุวรรณจูฑะ และ ศรีสุดา อาชวานันทกุล. (2554). “วิชาชีพการบัญชี” เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ การบัญชี เล่ม 1 หน่วยที่ 1. นนทบุรี: สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นฤมล สุมรรคา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของบุคลากรทางบัญชีเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาสถานประกอบการจังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะและศิลปพร ศรีจั่นเพชร. 2552. การสอบบัญชี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ทีพีเอ็น เพรส.

บวรลักษณ์ เงินมา. (2554). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาวชาการบัญชีในความต้องการของสถานประกอบการในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มุจรินทร์ แก้วหย่อง. (2548). ความรู้ความสามารถทางการบัญชี ระบบสารสนเทศทางการบัญชีคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

เมธากุล เกียรติกระจาย และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2547). ทฤษฎีการบัญชี (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.

รัชนี แสงศิริ. (2546). ศึกษาความต้องการในการพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วนันพรณ์ ชื่นพิบูลย์. (2552). ผลกระทบของสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่มีต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีและประสิทธิภาพการตัดสินใจของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สภาวิชาชีพบัญชี. (2550). ความรู้และความสามารถทางิชาชีพสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2552). การบัญชีบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2556). แม่บทการศึกษาระหว่างประเทศ. สืบค้าเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 จาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/66980

สวิตา อ่อนลออ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สุวรรณ เหลาเจริญเดช. (2546). ผลกระทบประสิทธิภาพการเรียนรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพการทํางานของนักบัญชีธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2552). การรู้สารสนเทศ. สืบค้น 10 ธันวาคม 2562 จาก http://portal.edu.chula.ac.th/patty_travel/blog/view.php
Bid=124408795034917&pg=1&msite=main

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18