การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการจัดซื้อในอุตสาหกรรม เครื่องกำเนิดไอน้ำโดยใช้แนวคิดไคเซ็นเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับผู้จำหน่าย

ผู้แต่ง

  • สุวิมล จีนบางช้าง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพกระบวนการจัดซื้อ, แนวคิดไคเซ็น, อำนาจต่อรองกับผู้จำหน่าย

บทคัดย่อ

                    การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดซื้อในอุตสาหกรรมเครื่องกำเนิดไอน้ำ วิเคราะห์ปัญหากระบวนการจัดซื้อและนำแนวคิดไคเซ็นมาประยุกต์ใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับผู้จำหน่าย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานจัดซื้อในอุตสาหกรรมเครื่องกำเนิดไอน้ำ จำนวน 43 คน โดยใช้การสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้  การถดถอยเชิงพหุ จากการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดซื้อเริ่มตั้งแต่รับเอกสารใบขอซื้อจนถึงขั้นตอนการจัดส่งสินค้า ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การจัดหาร้านค้าเพื่อเปรียบเทียบราคาไม่ทัน ความต้องการสินค้ามีน้อยทำให้ไม่สามารถต่อรองกับผู้จำหน่ายได้ รายละเอียดสินค้าที่ระบุในเอกสารไม่ครบถ้วน ผู้ขอซื้อไม่วางแผนการสั่งซื้อ ทำให้สั่งซื้อสินค้าเร่งด่วน ปัญหาจากผู้ขอซื้อ ระบุสินค้าไม่ครบ ไม่สามารถรวมความต้องการสินค้า จึงต้องเปิดขอซื้อสินค้านั้น  ปัญหาจากผู้ขายไม่สามารถลดราคาได้เพราะสินค้ามีน้อย ผู้ขายมีหลายราย ต้องเทียบราคาทุกครั้ง ไม่ยึดผู้ขายรายเดียว จึงแก้ไขปัญหาโดยการนำเทคนิคไคเซ็นมาจัดเรียงกระบวนการจัดซื้อใหม่และติดตามผล ผลการศึกษาเป็นประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมเครื่องกำเนิดไอน้ำ

 

 

 

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). รายชื่อผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจ. สืบค้น 12 ตุลาคม 2563, จาก https://www.dataforthai.com/business/objective/25130.
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2563). แผนแม่บทอุตสาหกรรมอาหาร พ.ศ. 2553 - 2557. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.
ธีทัต ตรีศิริโชติ. (2558). การเจรจาต่อรองในการจัดซื้อ. สืบค้น 20 ตุลาคม 2563, จาก http://www.slideshare.net/TeeTre/8-47221164.
บูรณศักดิ์ มาดหมาย และเจริญ รักข์สวัสดิ์. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้เทคนิคไคเซ็น. วารสารห้องสมุด, 33.
ภานุมาศ ฉัตรพิทักษ์โชค. (2554). ความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีต่อภาพลักษณ์ของสำนักบริการวิชาการ (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป)
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมภาร วรรณรถ. (2560). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้แนวคิดไคเซ็น กรณีศึกษา วาย เอส ภัณฑ์ จำกัด. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ) บัณฑิตวิทยาลัย:
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สุวรี คล่องงานทะเล. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้แนวคิดไคเซ็น กรณีศึกษาแผนกจัดซื้อ. (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน) บัณฑิต
วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบรูพา.
Imai, Masaaki. (1986). Kaizen Kyzen The Key to Japan’s Competitive Success. New York: Random House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20