ปัจจัย ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี.
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ทำประกันภัยรถยนต์ที่มีต่อกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และอายุการใช้รถยนต์ ตัวอย่างที่ใช้คือ ประชาชนผู้ซื้อกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 351 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือในการวิจัยทั้งฉบับ ได้ค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การทดสอบค่า t และค่า F
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี โดยเรียงลำดับอิทธิพลจากมากไปหาน้อย คือ 1.1) ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 1.2) ด้านราคา 1.3) ด้านบุคคล 1.4) ด้านส่งเสริมการตลาด 1.5) ด้านกระบวนการ และ 1.6) ด้านผลิตภัณฑ์ มีตัวแปรตามคือ การตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งตัวแปรทั้งหกด้านมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และสามารถร่วมกันทำนายการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีสถานภาพการสมรสและระดับการศึกษาต่างกัน ให้ความสำคัญต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจไม่แตกต่างกัน ผู้ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีเพศ อายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และอายุรถยนต์ที่ใช้ต่างกัน ให้ความสำคัญต่อปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กาญจนา เกียรติมณีรัตน์. (2555). ความพึงพอใจและการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กาญจนา เกียรติมณีรัตน์. (2546). ภูมิปัญญาในการทอผ้าพื้นเมืองเหนือ: รูปแบบของการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอาชีวศึกษา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
กาญจนาภรณ์ หาญประกอบสุข. (2555). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกร ชำนาญไพศาล. (2545). การค้าปลีก. กรุงเทพฯ : โครงการพัฒนาการบริหารจัดการร้านค้าปลีก กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์.
ครรชิต เชื้อขำ และคณะ. (2563). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดและปัจจัยของความน่าเชื่อถือที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบบออนไลน์ ในจังหวัดตรัง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ Journal of MCU Nakhondhat Vol.8 No.1 (January 2021) ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม 2564.
จรัสลักษณ์ อู่ทรัพย์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
จันทนา เจริญทวี. (2559). ความสำคัญของรถยนต์ในปัจจุบัน. สืบค้น 20 มีนาคม 2563, จาก https://knowcarto.wordpress.com/2016/10/14/
ฉัตยาพร เสมอใจ และคนอื่น ๆ. (2552). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : วีพริ้นท์ (1991).
ฐิติรัตน์ มีมาก และคนอื่น ๆ. (2552). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัชชา โอเจริญ. (2560). อุบัติเหตุทางถนน ความเสียหายร้ายแรงต่อเศรษฐกิจไทย. สืบค้น 20 มีนาคม 2563, จาก https://tdri.or.th/2017/08/econ_traffic_accidents/
ณัฐกฤตา ปานเพ็ชร. (2559). การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการประกันภัยรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร. บทความวิจัย วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ.
Barbara G.T. and Linda S.F. (1989). Using Multivariate Statistics. 2nded. California : Harper Collins Publishers.
Draper, N.R. and Smith, H. (1981). Applied Regression Analysis. 2nded. New York : Jone Willey and Sons.
Friedman’s Consumption Function. (2012). Estimating the Consumption Function under the Permanent Income Hypothesis: Evidence from Ghana. Kwame Nkrumah University of Science and Technology, Kumasi Department of Economics.
Gibson, J. L. (2000). Organizations Behavior (7th ed.). Boston: Irwin.
Grebriel, E.O. (2005). Managing the Expended Marketing Mix (EMM): A Critical Perspective Approach (Form 4Ps to 7Ps.). Faculty of Ecommerce Mzumbe University: Tanzania.