รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐาพัชร์ สะอาดเอี่ยม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • รศ.ดร.สถิตย์ นิยมญาติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างสุขภาวะ, ผู้สูงอายุ, องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเนื่องจากประชาชนมีอายุขัยเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้นจำนวนและสัดส่วน ของผู้สูงอายุจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ครัวเรือนมีขนาดเล็กลงมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น มีการเคลื่อนย้าย แรงงานจากชนบทสู่เมือง และ สตรีมีบทบาทด้านเศรษฐกิจมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลต่อศักยภาพ ของครัวเรือนในการดูแลผู้สูงอายุ บ่งชี้ถึงความจำเป็นต้องศึกษาและพัฒนาระบบการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุใน ชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้สูงอายุ การวิจัยเรื่อง รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา2.เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการวิจัยครั้งนี้เป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เพื่อค้นพบองค์ความรู้ใหม่รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1. ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. หัวหน้าส่วนสวัสดิการสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3.สมาชิกชมรมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 22 คน

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นั้นประกอบด้วย สุขภาวะด้านร่างกาย สุขภาวะด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ และแนวทางที่เหมาะสมต่อการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นรูปแบบครอบครัวยังมีบทบาทหลักในการดูแลผู้สูงอายุ ทุกพื้นที่มีการจัดบริการสุขภาวะ สำหรับผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพและสังคม แต่ความครอบคลุมของบริการและความเข้มข้นต่างกัน บริบทของ ชุมชน ศักยภาพของท้องถิ่นและชุมชน รวมถึงการเข้าถึงแหล่งทุนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา ขณะเดียวกัน นโยบายการกระจายอำนาจและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเอื้อต่อการดำเนินงานของชุมชนในการพัฒนาบริการ สุขภาวะผู้สูงอายุ มีการจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีภาวะพึ่งพิงค่อนข้างครอบคลุมแต่ยังคงมีปัญหา ด้านคุณภาพบริการ ส่วนบริการด้านสังคมยังมีลักษณะแบบสังคมสงเคราะห์เป็นหลัก ขาดความเชื่อมโยงและ ต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงนั้น บริการที่เป็นรูปธรรมทั้งด้านสุขภาพและสังคม ยังมีจำกัดมาก จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องพัฒนาให้มีบริการสำหรับกลุ่มนี้ ซึ่งสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยด้วยการให้ความรู้เศรษฐกิจในผู้สูงอายุด้วยกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนและพัฒนาเป็นชุมชนต้นแบบที่พัฒนาขึ้นและเป็นประโยชน์โดยรวมกับสังคมผู้สูงวัยในพื้นที่อื่นต่อไป

References

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). โรงเรียนผู้สูงอายุ เสริมพลังวัยเกษียณพึ่งตนเอง.กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์.กรมกิจการผู้สูงอายุ.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). ประชากรสูงอายุในประเทศไทยในปีพ.ศ. 2561. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

กฤษณ์ ภูรีพงศ์, สุพจน์อินหว่าง และกัญญมน อินหว่าง. (2558). แนวทางการพัฒนาการจัดการ สวัสดิการของผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่1 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม–สิงหาคม2558.

จุฑามาศ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์):ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ.วารสารวิชาการปีที่ 38 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม–เมษายน พ.ศ. 2560.

จุฬาลักษณ์ พัฒนศักดิ์ภิญโญ, อาทร คุระวรรณ, กมล ส่งวัฒนา และณรงค์บุญสวยขวัญ. (2545). การประเมินความก้าวหน้าของการกระจายอำนาจในประเทศไทย : กรณีศึกษาองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในภาคใต้. ม.ป.ท.

ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ. (2560). แนวทางการพัฒนาการประสานความร่วมมือ. ในการจัดสวัสดิการสังคมในท้องถิ่น: กรณีศึกษา จังหวัดน่าน.บทความโครงการวิจัยสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ชัชชษา บุญเนียมแตง และคณะ. (2560). การจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในสาธารณรัฐเกาหลี. กรณีศูนย์ผู้สูงอายุ. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยสยาม.

ณิชานี ฉุนฉลาด. (2559). การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. กลุ่มงานพัฒนา ทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

พรพรม ไขชัยภูมและคณะ. (2556). ความต้องการสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลโนนไทย อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการ ปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถนมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภิรมย์พร ไชยยนต์. (2557). การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น: ศึกษากรณีการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด (นิติศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. พ.ศ. 2561.กรุงเทพ

วรรณนภา วามานนท์. (2561). กระบวนการนโยบายสาธารณะในประเทศไทย. วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 19 ฉบับพิเศษ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2561.

สัมพันธ์ เตชะอธิก. (2561). เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “การวิจัยเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น : ภาคเหนือ” การวิจัยเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน จัดโดยคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ และสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานคณะการกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. –2560พ.ศ. 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักเลขาธิการ

อรวรรณ เกสร. (2561). แนวคิดเศรษฐกิจชุมชนในบริบทต่างสังคม. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพลับลิชชิ่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20