การพัฒนาทักษะการสื่อสารของพนักงานบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขนส่งสินค้าข้ามแดน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

ผู้แต่ง

  • เกษราภรณ์ งานสุวรรณฉาย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ทักษะการสื่อสาร, พนักงานบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขนส่งสินค้าข้ามแดน, เพิ่มประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. ศึกษาระดับทักษะการสื่อสารของพนักงานบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขนส่งสินค้าข้ามแดนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 2. ศึกษาระดับปัญหาทักษะการสื่อสารของพนักงาน 3. วิเคราะห์เปรียบเทียบ  ความแตกต่างปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และ 4. ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารของพนักงาน กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขนส่งสินค้าข้ามแดน ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 152 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าทีแบบ Independent และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

                 จากผลการวิจัย พบว่า ระดับทักษะการสื่อสารของพนักงานบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขนส่งสินค้าข้ามแดนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 4.17 (S.D. = 0.52) และการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.33 (S.D. = 0.58) ปัญหาทักษะการสื่อสารของพนักงาน อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 3.45 (S.D. = 1.08)  เพศต่างกันมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่งงาน หน่วยงานที่ติดต่อสื่อสารต่างกันมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และแนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสาร อยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 4.09 (S.D. = 0.70)

References

เอกสารอ้างอิง
กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2563). สถานการณ์การค้าชายแดน – ผ่านแดน มกราคมถึง พฤษภาคม ปี 2563 ช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19. สืบค้น 10 ตุลาคม 2563, จาก https://www.fti.or.th/category
กิตติกร พนังแก้ว. (2562). พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรของนักธุรกิจบริษัท แด๊กซิน (ประเทศไทย) จำกัด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วรสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 281-297.
เจนจิรา สาระพันธ์. (2560). อิทธิพลการสื่อสารในองค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน: กรณีศึกษา บริษัทขนส่งสินค้าในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยศรีปทุมวิทยาเขตชลบุรี
ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2550). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารขององค์กรธุรกิจ : กรณีศึกษาเฉพาะองค์กรธุรกิจที่เป็นสมาชิกของหอการค้าไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: หอการค้าไทย.
ปิยะนุช สถาพงศ์ภักดี. (2562). ธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางถนน. สืบค้น 16 ตุลาคม 2563, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook
พฤธิสิทธิ์ อุทุม. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เวณิกา ชัยยิ้ม. (2558). การสื่อสารในองค์กร. สืบค้น 10 ตุลาคม 2563, จาก https://sites.google.com/site/darunsitpattanarangsan/sara-na-ru/585
พิมพ์ลิขิต ทองรอด. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษา บริษัทอินเด็กซ์ครีเอทีฟวิลเลจ. วรสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1(2), 63-102.
สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ. (2563). Member. สืบค้น 9 ตุลาคม 2563, จาก http://www.tiffathai.org/member/index.php
สิริพร สงบธรรม. (2560). โลจิสติกส์ไทยเตรียมก้าวเข้าสู่ 4.0 ได้อย่างไร. สืบค้น 10 ตุลาคม 2563, จาก https://www.fti.or.th/category
Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication. New York : The Free Press.
Cronbach, L. J. (1970).Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.
Nadler, L. & Wiggs, G.D. (1989). Managing human resources development. California : Jossey-Bass
Peterson, E. & Plowman, G. E. (1953). Business Organization and Management. 3rd ed. Ill : Irwin.
Yamane, T. (1973). Statisties: An Introductory Analysis. Tokyo: Harper International Edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20