ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเสี่ยง
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, โปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง, พฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเสี่ยง ตำบลหนองผือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำแนกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คนและกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเสี่ยง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานของประชากร กลุ่มเสี่ยง ระยะเวลาในการวิจัย 12 สัปดาห์ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ค่าดรรชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์และคำถาม (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha) ของการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน เท่ากับ 0.77, 0.90, และ 0.74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่ (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองซึ่งได้รับโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มเสี่ยง มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรคเบาหวาน และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
References
2. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2563). จำนวนและอัตราป่วยตาย ปี2559-2562. http://www.thaincd.com /2016/mission3
3. เขมารดี มาสิงบุญ, สายฝน ม่วงคุ้ม, และ สุวรรณี มหากายนันท์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(2), 214-227. https:/www.tcithaijo.org/index.php/ tnaph /issue/view/6900
4. คำภี กลางประพันธ์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา, และ วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์. (2558). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริม สุขภาพในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเชื่อในความสามารถแห่งตน ตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน พัฒน์ศิณ สำเริงรัมย์ (บ.ก.), การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 (น.30-37). วิทยาลัยนครราชสีมา. http://journal.nmc.ac.th/th/admin/ journal/2558Vol2No1_4.pdf
5. ไชยา จักรสิงห์โต. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. http://thesis.rru.ac.th/files/pdf/689_2018_ 11_ 21_ 092247.pdf
6. นวลนิตย์ ไชยเพชร, อุดมศิลป์ แก้วกล้า, สิทธิพงษ์ สอนรัตน์, และ ยุวดี วิทยพันธ์. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชุมชนโพหวาย ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(2), 45-62. https://he01.tcithaijo.org/index.php/scnet/ article/view /92829/72671
7. ทิพย์สุดา แสนดี, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, และพรนภา หอมสินธุ์. (2559). ผลการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ น้ำหนัก และค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(2). 53-66. http://digital_ collectlib.buu.ac.th/dcms/files/52920016.pdf
8. วราลี วงศ์ศรีชา และ อรสา กงตาล. (2554). ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนใน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (น.759-769). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. https://gsbooks.gs. kku.ac.th/55 /cdgrc13/files/mmp8.pdf
9. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2562). สถานการณ์โรคเบาหวานในภาคพื้นแปซิฟิก. https://www.dmthai.org/ index.php/knowledge/ the-chart/the-chart-1/549-2018-02-08-14-52-46
10. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2562). HDC-Reports. https://ubn.hdc.moph.go.th /hdc/main /index.php
11. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. (2562). รายงานผลการคัดกรองโรคเบาหวาน ประจำปี 2562. http://www.khemmarat.org/index.php.
12. อัมพร ไวยโภคา. (2556). การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันมะนะ ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 14(1), 81-94. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/cmruresearch/article/view/96131
13. Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84(2), 191-215.
14. Cronbach, L.J. (1984). Essential of Psychological Testing. Harper & Row.
15. Cioffi, CE., Ranjani, H., Staimez, LR., Anjana, R.M., Mohan, V., and Weber, M.B. (2018). Self-efficacy and diabetes prevention in overweight South Asians with pre-diabetes. BMJ Open Diabetes Res Care. 6(1), 1-8. https://doi.org/10.1136/bmjdrc-2018-000561
16. Cohen, J. (1992). A power primer. Psychological bulletin, 112(1), 155-159. https://doi.org/ 10.1037/0033-2909.112.1.155
17. Institute for Digital Research & Education : Statistical and Consulting, University of California, Los Angeles. (2021). What does Cronbach’s Alpha mean?. https://stats.idre.ucla.edu/spss/faq/ what-does-cronbachs-alpha-mean/
18. World Health Organization. (2019). World health statistics 2019: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. https://apps.who.int/iris /bitstream/ handle/10665/ 324835/978