ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ:
โปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง, ผลลัพธ์ด้านสุขภาพ, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ตำบลแก้งเหนือ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง ของ Bandura (1997) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ จำแนกเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ระยะเวลาในการวิจัย 12 สัปดาห์ ตรวจสอบความตรงเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00
ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha) ของตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 0.87, 0.94, และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่ (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลองซึ่งได้รับโปรแกรมสร้างเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง มีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมด้านสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.77, 8.71, 5.01 ตามลำดับ) นอกจากนี้กลุ่มทดลองที่มีระดับความดันของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแสดงผลทั้งค่าบนและค่าล่างลดลงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (P-value < .05)
References
Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(1), 62-72. https://he02.tcithaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/27285
2. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). จำนวนอัตราป่วย/ตาย ปี 2559-2562. กระทรวงสาธารณสุข. http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.
php?id=13893&tid=32&gid=1-020
3. กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562).ระดับความดันโลหิต. กระทรวงสาธารณสุข. http://thaincd.com /2016/media-detail.php?id=13668&tid=&gid=1-015-009
4. จินตนา จักรสิงห์โต และรัตนา พันจุย. (2561). ประสิทธิผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้โรงพยาบาลโคกสูง จังหวัด
สระแก้ว. วารสารโรคและภัยสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, 12(1), 56-67. https://ddc.moph.go.th/4d1ee4363d883ed53c5227debdded7d8.pdf /uploads/files/
5. ทีปภา แจ่มกระจ่าง, ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์, และจิรวรรณ มาลา. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อความร่วมมือในการรับประทานยาและความดันโลหิตของผู้สูงอายุ
โรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 18 (ฉบับพิเศษ), 270-279. he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/90439
6. ปฐมธิดา บัวสม, ยินดีพรหมศิริไพบูลย์, และอติญาณ์ ศรเกษตริน. (2560). วิจัยผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงใน
ตำบลรมณีย์ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมช มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 549-567. https://home.kku.ac.th/chd/index.php?https://home.kku.ac.th/chd/index.php?
%20%09option =com_attachments&task=download&id=265&lang=th
7. รัตนากร จันใด, ชวนชัย เชื้อสาธุชน, และพจนีย์ เสงี่ยมจิตต์. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเอง ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการใช้ยาลดระดับความดันโลหิตสูง ในผู้ป่วย
โรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 5(1), 75-89. http://phn.ubru.ac.th/2016/images/PDF/varasan/5P159.pdf
8. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแก้งเหนือ. (2562). แฟ้มเอกสารบันทึกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2562. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแก้งเหนือ
9. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาก. (2562). แฟ้มเอกสารบันทึกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2562. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาก
10. วรารัตน์ ทิพย์รัตน์, ปรีดา สาราลักษณ์, จันทร์เพ็ญ เลิศวนวัฒนา, และสดศรี ประทุม. (2557). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการบริโภคเกลือต่ำและระดับ
ความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาล โรคหัวใจและทรวงอก, 25(1), 70-84. https://he02.tci-thaijo.org/ index.php/journalthaicvtnurse/article/view/26253
11. สมพร สันติประสิทธิ์กุล, และปิยธิดา จุลละปีย. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในจังหวัดเชียงราย. วารสารการพยาบาลและ
การดูแลสุขภาพ, 35(1), 100-109. https://he01.tci-thaijo.org/index/php/jnat-ned/article/view/85329/67931
12. สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. สำนักพิมพ์ทริค ธิงค์. http://www.thaihypertension.org/guideline.html
13. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2562). คลังข้อมูลสุขภาพ(HDC) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.phpcat_id=b2b59e64c4e6c92
d4b1ec16a599d88
14. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ประเด็นสารรณรงค์วันความดันโลหิตสูงโลก ปี 2561. กระทรวงสาธารณสุข. http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?
id=13106&gid=18
15. อารีรัตน์ คนสวน. (2557). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารและระดับความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมความดันโลหิต
ไม่ได้. ธนาคารความรู้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/10057
16. Afsane Khosravizade, Akbar Hassanzadeh, Firoozeh Mostafavi. (2013). The impact of self-efficacy education on self-care behaviours of low salt and weight setting diets in
hypertensive women covered by Health-care centers of Dehaghan in 2013. The Journal of the Pakistan Medical Association, 65(5), 506-511.
https://www.semanticscholar.org/paper/The-impact-of-selfefficacy-education-on-self-care-Khosravizade-Hassanzadeh/695187a8bbec01c73e6dcaf55fd825bbb1f5e6a7
17. Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84(2), 191-215.
18. Center for Disease Control and Prevention, 2019. Preventing High Blood Pressure. https://www.cdc.gov/bloodpressure/prevent.htm
19. Cohen, J. (1992). A power primer. Psychological bulletin, 112(1), 155-159. https://www.semanticscholar org/paper/A-power-primer.
Cohen/71d491a1d509b07f76b64e0b72a2af2a93dd9fb4. 10.1037/00332909.112.1.155
20. Institute for Digital Research & Education : Statistical and Consulting, University of California, Los Angeles. (2021). What does Cronbach’s Alpha mean?
https://stats.idre.ucla.edu/spss/faq/what-does-cronbachs-alpha-mean/
21. Zhang C., Weihong Hu., Chunhui Su., Guo d. (2015). Effect of health management on community hypertensive patients' self efficacy. Chinese Journal of Health Management, 9(2),
114-117. https://med.wanfangdata.com.cn/Paper/Detail?id=PeriodicalPaper_zhjkglxzz201502012. 10.3760/cma.j.issn.1674-0815.2015.02.006
22. World Health Organization, 2019. The Top 10 Causes of Death. https://www.who.int/news-room/factsheets/detail/the-top-10-causes-of-deat