ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง
คำสำคัญ:
โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, การดูแลสุขภาพช่องปากบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง ตำบลหัวนา อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกเป็น กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง และแบบบันทึกการตรวจปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ ระยะเวลาในการวิจัย 12 สัปดาห์ ตรวจสอบความตรงเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น (Cronbach’s Alpha) ของตัวแปรการรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดโรคฟันผุ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุ ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการป้องกันโรคฟันผุ ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการป้องกันโรคฟันผุ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก เท่ากับ 0.84, 0.83, 0.90, 0.88, และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าทีในกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มทดลองซึ่งได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครอง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคฟันผุ ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการป้องกันโรคฟันผุ ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการป้องกันโรคฟันผุ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (P-value < .05) นอกจากนี้ ปริมาณคราบจุลินทรีย์ในช่องปากเด็กของกลุ่มทดลองลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (P-value < .05)
References
2. ธาราทิพย์ ก้อนทอง, จีระศักดิ์ เจริญพันธ์, และประวิ อ่ำพันธุ์. (2557). ผลของโปรแกรมประยุกต์การพัฒนาความสามารถในการดูแลช่องปากแบบใกล้ชิดต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแล
ทันตสุขภาพของเด็กในปกครองของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะดอบตำบลตะดอบ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารทันตาภิบาล, 25(1),57-68.https://www.tci-thaijo.org/index.php/TDNJ/article/download/26972/22891
3. ผุสดี ใจอารีย์, และวิณา จีระแพทย์. (2561). โปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรมของผู้ดูแลในครอบครัวในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด. วารสารพยาบาลทหารบก. 19 (ฉบับพิเศษ), 167-176. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/ %09view/ 134426/100588
4. โรงพยาบาลเขมราฐ. (2562). แผนปฏิบัติการพัฒนางานสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเขมราฐ ประจำปีงบประมาณ 2562. โรงพยาบาลเขมราฐ.
5. โรงพยาบาลเขมราฐ. (2562). ข้อมูลพื้นฐานประชากรอำเภอเขมราฐ ประจำปีงบประมาณ 2562. โรงพยาบาลเขมราฐ
6. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเฒ่า. (2562). รายงานสรุปผลการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงเฒ่า.
7. ภัทราภรณ์ สมน้อย, และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2560). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก่อนวัยเรียนโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขศึกษา, 40(2), 88-102. thaijo.org/index.php/muhed/article/download/136296/101688/
8. สุขนันท์สินี เพชรสุวรรณ. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมการแปรงฟันแบบฝึกปฏิบัติจริงสำหรับผู้ปกครองของ เด็กก่อนวัยเรียนช่วงอายุ 2-3 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_ 5717035231_4354_3885.pdf
9. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2561). รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรมอนามัย. http://www.dent.chula.ac.th/ upload/news/791/file_1_5834.pdf
10. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2562). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาสุขภาพช่องปาก.อุบลราชธานี. https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=db30e434e30565c12fbac44958e338d5
11. อัสมาพร สุรินทร์, บุบผา รักษานาม, นงนารถ สุขลิ้ม, และธนรุต ตั้งคำ. (2562). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาสำหรับผู้ปกครอง ในการป้องกันฟันผุของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลโคกยาง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 6(1), 189-200. https://tcithaijo.org/index.php/scnet/article/download/154332/119843/
12. Cohen, J. (1992). A power primer. Semantic scholar, 112(1), 155-159. https://www.semanticscholar.org/paper/A-power-primer. Cohen/71d491a1d509b07f76b64e0b72a2af2a93dd9fb4.10.1037/0033-2909.112.1.155
13. Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. Harper.
14. Hoeft KS, Barker JC, Shiboski S, Pantoja-Guzman E and Hiatt RA. (2016). Effectiveness evaluation of Contra Caries Oral Health Education Program for improving Spanish-speaking parents' preventive oral health knowledge and behaviors for their young children. Journal of Community Dentistry and Oral Epidemiology, 44(6), 564-576. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27517458
15. Institute for Digital Research & Education : Statistical and Consulting, University of California, Los Angeles. (2021). What does Cronbach’s Alpha mean?. https://stats.idre.ucla.edu/spss/faq/ what-does-cronbachs-alpha-mean/
16. Ronald W. Roger. (1983). Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude change: A revised theory of protection motivation. In J. T. Cacioppo & R. E. Petty (Eds.), Social psychophysiology: A sourcebook (pp. 153-176). Guilford. https://www.researchgate.net/publication/229068371_Cognitive_and_physiological_processes_in_fear_appeals_and_attitude_change_A_revised_theory_of_protection_motivation/link/54413d630cf2a76a3cc7d17e/download