การเปรียบเทียบรูปแบบการสอนของเดวีส์ และการสอนแบบปกติที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 จังหวัดบุรีรัมย์

A comparison of Davies and Traditional instructional Model for the mobility skills in third-grade students of tessaban 3 school, Buriram Province

ผู้แต่ง

  • บาล ชะใบรัมย์ และอมรเทพ วันดี Physical Education, Facualty of Eductaion

คำสำคัญ:

Davies instructional model, Traditional instructional model, mobility skills

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการสอนของเดวีส์ และการสอน แบบปกติที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กชั้นประถมศึกษา โดยทำการศึกษาในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 14 คน รวมจำนวน 28 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากนั้นทำการทดสอบก่อนการฝึกและหลังการฝึกด้วยแบบประเมิน TGMD-2 และดำเนินการสอนด้วยวิธีการแบบ แบบปกติ และรูปแบบการสอนของเดวีส์ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสถิตินอนพาราเมตริก ด้วยวิธีของ Shapiro-Wilk และการทดสอบความแตกต่างด้วยสถิตินอนพาราเมตริก ด้วยวิธีของ Wilcoxon Signed Ranks Test

ผลการวิจัยพบว่า

  1. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนภายในกลุ่มที่ได้รับการสอนในรูปแบบของเดวีส์ และกลุ่มที่ได้รับการสอนในรูปแบบการสอน แบบปกติพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มได้รับการสอนในรูปแบบของเดวีส์ และกลุ่มที่ได้รับการสอนในรูปแบบการสอน แบบปกติพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน พลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กรพัฒนายิ่ง

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คูมือการจัดการสาระการเรียนรูกลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษา และพลศึกษา ตามหลักสูตรขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ณัฐิกา เพ็งลี. (2562). ผลของโปรแกรมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47(3): 196 – 216

ทิศนา แขมมณี. (2549). ศาสตร์การสอน พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเดิมชัย เถาแก้ว. (2562). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับจินตภาพที่มีผลต่อความสามารถในการโยนลูกเปตองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วีรศักดิ์ ศรีสมุทร, ทัศนา ประสานตรี และมนตรี อนันตรักษ์. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษา เรื่อง ทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตบอลและการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค JIGSAW กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 4(3): 114 – 123.

ศรัณภัทร์ แวมะมิง, นงนภัสส์ มากชูชิต และชุติมา ทัศโร. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติ เรื่อง รองเง็ง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8 (1): 1 – 20

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). แผนยุทธศาสตร์ชาติด้านเด็กปฐมวัย (แรกเกิดถึงก่อนเขาปฐมศึกษาปีที่ 1) ตามนโยบายรัฐบาลด้านเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2555-2559(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สนอง อินละคร. (2544). เทคนิควิธีการและนวัตกรรมที่ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.

สมจัด ประทัยงาม, นพเรศวร์ ธรรมศรัณยกุล, เฉลิมพล สวัสดิ์พงษ์ และอรธิดา ประสาร. (2562). การพัฒนาทักษะการว่ายน้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยใช้รูปแบบทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางสังคมศาสตร์. 3(2). 43 – 52.

Davis, K. (1977). Human Behavior at Work. New York : McGraw-Hill.

Ghasemi, A., and Zahediasl, S. (2012). Normality tests for statistical analysis: a guide for non-statisticians. International journal of endocrinology and metabolism, 10(2), 486.

Oliver M, Schofield GS, Kolt GK, et al. (2017). Pedometer accuracy in physical activity assessment of preschool children. Journal of Science and Medicine in Sport; 10 (5): 303-10.

Ulrich, D. A. (2000). The test of gross motor development (2nd ed.). Austin, TX: Pro-ed.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25