อิทธิพลของคุณสมบัติของแอปพลิเคชันสั่งอาหารที่มีต่อผลการปฎิบัติงาน ของพนักงานส่งอาหารในจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
Food Delivery Application Features, Job Performance, Food Delivery Ridersบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานจากการใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารของพนักงานส่งอาหารในจังหวัดชลบุรี 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับผลการปฏิบัติงานจากการใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารของพนักงานส่งอาหารในจังหวัดชลบุรี โดยจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ 3. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณสมบัติแอปพลิเคชันสั่งอาหารที่มีอิทธิพลด้านทัศนคติ ความตั้งใจใช้ต่อ และผลการทำงานของพนักงานส่งอาหารในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ พนักงานส่งอาหารที่ประจำจุด ในอำเภอเมืองชลบุรี โดยแบ่งเป็นตำบลดังนี้ ตำบลมะขามหย่ง ตำบลบ้านสวน ตำบลเสม็ด ตำบลคลองตำหรุ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า คุณสมบัติของแอปพลิเคชันสั่งอาหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.18 (S.D. = 0.75) กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนอันดับแรก คือ ด้านความปลอดภัย มีค่าเฉลี่ย = 4.38 (S.D. = 0.71) อันดับสอง คือ ด้านการควบคุม ( = 4.21, S.D. = 0.75) อันดับสาม คือ ด้านฟังก์ชัน (= 4.13, S.D. = 0.81) อันดับสี่ คือ ด้านการออกแบบ (= 4.13, S.D. = 0.75) และ อันดับห้า คือ ด้านความสะดวก (= 4.09, S.D. = 0.74) ตามลำดับ ส่วนผลการปฏิบัติงานจากการใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารของพนักงานส่งอาหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย = 4.10 (S.D. = 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอันดับแรก คือ ด้านทัศนคติ ( = 4.22) อันดับที่ 2 คือ ด้านผลการทำงาน ( = 4.12) และอันดับที่ 3 คือ ด้านความตั้งใจใช้ต่อ ( = 3.97) ตามลำดับ ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ รายได้ ประสบการณ์ทำงานในการส่งอาหาร (ไรเดอร์) พื้นที่ในการส่งอาหาร และจำนวนคำสั่งชื้อเฉลี่ย/วัน มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานจากการใช้แอปพลิเคชันสั่งอาหารด้านทัศนคติ ความตั้งใจใช้ต่อ และผลการทำงาน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ไม่มีอิทธิพลด้านทัศนคติ ความตั้งใจใช้ต่อ และผลการทำงาน
References
Hossain, F. and Adelaja, A. O. (2000) Consumers' interest in alternative food delivery systems: results from a consumer survey in new jersey. Journal of Food Distribution Research. 31(2) pp.49-67
Meehee Cho et al. (2019) Differences in perceptions about food delivery apps between single-person and multi-person households. International Journal of Hospitality Management. 77 pp.108-116
Meehee et al. (2020) Examining Risk-Reduction Behavior Toward Water Quality Among Restaurant Guests. Journal of Cornell Hospitality Quarterly. 61(3) pp.255-270
SCB. (2564). “Robinhood” แอปพลิเคชั่น Food Delivery จากกลุ่ม SCB ที่ต้องการคืนกำไรให้สังคม สืบค้น 1 ตุลาคม 2564. จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business- maker/robinhood.html
Yamane. (1967) Statistics an Introductory Analysis. 2nd Edition, New York, Harper and Row.
Yuyang Zhao et al. (2020). What factors determining customer continuingly using food delivery apps during 2019 novel coronavirus pandemic period?. International Journal of Hospitality Management. 91 pp.1-12