แนวทางการจัดการเรียการสอนภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส Covid: กรณีศึกษา รายวิชาประชากรและสิ่งแวดล้อม

-

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา โรจนแสง -

คำสำคัญ:

แนวทางการเรียนการสอน, ประชากรและสิ่งแวดล้อม, สถานการณ์ Covid

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียการสอนรายวิชาประชากรและสิ่งแวดล้อมไทยภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส Covid ตามมุมมองของนักศึกษาสาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในการจัดการเรียนการสอนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาสาขาสังคมศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชาประชากรและสิ่งแวดล้อม จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และการระดมความคิดเห็นของนักศึกษาผ่านระบบออนไลน์

จากการศึกษาพบว่า มุมมองของนักศึกษาในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประชากรและสิ่งแวดล้อมสถานภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส Covid นักศึกษามีการนำเสนอรูปแบบแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อเกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยสรุปได้เป็น 3 ข้อหลัก ดังนี้ 1) ควรเป็นการเรียนออนไลน์มากกว่าเรียนในชั้นเรียนเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และให้อาจารย์เป็นผู้ให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่นักศึกษา ซึ่งนักศึกษามองว่าในสถานการณ์ที่มีการระบาดของไวรัส Covid ควรเน้นเป็นการเรียนออนไลน์มากกว่าในห้องเรียนเพื่อความปลอดภัย ขณะเดียวกันอาจารย์และนักศึกษาควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในห้องเรียนออนไลน์ แต่หากในชั้นเรียนนักศึกษาเกิดความสงสัยในรายวิชาหรืองานที่อาจารย์สั่ง อาจารย์ควรเป็นผู้ให้คำแนะนำและชี้แนะ 2) การทำงานกลุ่มออนไลน์ในชั้นเรียน ควรมีการแยกเป็นห้องย่อยในระบบออนไลน์ เพื่อหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตนำมาแลกเปลี่ยนความรู้ สรุปเป็นองค์ความรู้ของกลุ่มและนำเสนอ นักศึกษาเสนอมุมมองว่าในการเรียนออนไลน์ หากมีการทำงานกลุ่มควรมีการแบ่งห้องย่อยในระบบออนไลน์ เพื่อให้แต่ละกลุ่มได้พูดคุยกันเป็นการส่วนตัว จากนั้นแต่ละกลุ่มหาข้อมูลและสรุปเป็นองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ ของกลุ่มและนำมาแบ่งปันกับเพื่อน  และ3) ควรเน้นการสั่งงานเดี่ยวมากกว่างานกลุ่ม และอาจารย์ควรมีรูปแบบการเช็คชื่อรูปแบบใหม่ เพื่อกระตุ้นผู้เรียน นักศึกษาเสนอว่าหากอาจารย์มีงานให้นักศึกษาควรเน้นไปงานเดี่ยวมากกว่างานกลุ่มเพื่อป้องกันความปลอดภัยในการรวมตัวกัน นอกจากนี้ในการเข้ามาชั้นเรียนออนไลน์อาจารย์ควรมีการเช็คชื่อในรูปแบบใหม่ๆเพื่อเป็นการกระตุ้นกระตุ้นผู้เรียน และให้ความสนใจในการเรียนชั่วโมงนั้นๆ 

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, นงเยาว์ อุทุมพร, กุลชลี จงเจริญ และฐิติกรณ์ ยาวิไชย จารักศิลป์. (2564). รายงาน

การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19. สำนักงานเลขาธิการสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

เฉลิมชัย เลี้ยงสกุล.(2563). การศึกษาในยุค COVID-19. ระบบออนไลน์ JWC61-Education%20in%20Covid-

%20Crisis%20(1).pdf. ค้นหาเมื่อ 19 ตุลาคม 2564.

ปิยะวรรณ ปานโต.(2563). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(COVID-19). รายการร้อยเรื่อง…เมืองไทย. สถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา และสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ออกอากาศ มิถุนายน 2563.

สิริพร อินทสนธิ์.(2563). โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสาร

วิทยาการจัดการปริทัศน์. 22(2): 203-213.

วิทยา วาโย อภิรดี เจริญนุกูล ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่.(2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้

สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัย. 14(34): 285-298.

สุวิมล มธุรส.(2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชตภาคย์. 15(40): 33-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-25