ศึกษาความต้องการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การบริการทางการแพทย์ / การสาธารณะสุข / ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
โครงการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความต้องการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอน้ำขุ่นจังหวัดอุบลราชธานี และ (2) เพื่อเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้ประชากรทั้งหมด รวมทั้งสิ้น 351 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ผลการศึกษาวิจัยความต้องการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี พิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับความคิดเห็นจากระดับมากที่สุดลงไปหาน้อยสุด ดังนี้ (1) การจัดบริการด้านการป้องกันและรักษาความปลอดภัย มีความคิดเห็นโดยรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.06) (2) การให้ความช่วยเหลือ ปรึกษาให้คำแนะนำด้านต่างๆ มีความคิดเห็นโดยรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.02) (3) การบริการทางการแพทย์และสุขภาพอนามัย มีความคิดเห็นโดยรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.96) (4) การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีความคิดเห็นโดยรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.77) (5) การจัดที่พักอาศัยและให้การดูแลอย่างเหมาะสม มีความคิดเห็นโดยรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.63) (6) การให้การศึกษาหรือฝึกอาชีพเพื่อเป็นรายได้ มีความคิดเห็นโดยรวมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.62) (7) การบริการนันทนาการ วัฒนธรรมและสังคม มีความคิดเห็นโดยรวมระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.29)
ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามโดยรวม พบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับความสัมพันธ์มากสุดไปต่ำสุด พบว่า (1) ความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายบริการที่จัดขึ้นโดยภาครัฐ โดยมีค่าความสัมพันธ์ r = 0.479 (2) ภาวะเศรษฐกิจ และขาดโอกาสประกอบอาชีพ โดยมีค่าความสัมพันธ์ r = 0.410 (3) สภาพสังคม วัฒนธรรมในชุมชนที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ โดยมีค่าความสัมพันธ์ r = 0.390 (4) ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ภาวะความยากจน โดยมีค่าความสัมพันธ์ r = 0.270 นอกจากนี้ ยังพบว่ามีตัวแปรปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางลบ ได้แก่ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและบุคคลภายนอก โดยมีค่าความสัมพันธ์ r = -0.066 ส่วนตัวแปรปัจจัยด้านการล่มสลายของวัฒนธรรมและระบบสายพันธุ์ทางสังคมในชุมชนไม่มีอิทธิพลหรือไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี
References
กมลพร นิรารัตน์ และอัครนันท์ คิดสม. (2560). ปัจจัยท่ีส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร.
การประชมุวิชาการระดับชาติครังที่ 14 มหาวิทยาลยัเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกําแพงแสน, (หน้า 1939-1949). นครปฐม.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์ประกันสุขภาพและสารสนเทศ โรงพยาบาลน้ำขุ่น. (26 ธันวาคม 2563). รายงานผู้มารับ
บริการผู้ป่วยนอกในเครือข่ายอำเภอน้ำขุ่น โปรแกรม Jhcis. อำเภอน้ำขุ่น, อุบลราชธานี, ประเทศไทย
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ
ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564). กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการส่งเสริม และประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ ส้านักนายกรัฐมนตรี.
จารุวรรณ ก้านศรี อุทัยวรรณ แก้วพิจิตร ชุติมา มาลัย และณัฐธัญญา ประสิทธิ์ศาสตร์. (2562). ความว้าเหว่
ในผู้สูงอายุ: บทบาทพยาบาล. พุทธชินราชเวชสาร, 36(2), 254-264.
เจ๊ะยารีเย๊าะ เจ๊ะโซ๊ะ. (2556) ความต้องการบริการสุขภาพและแบบแผนบริการสุขภาพของผู้สูงอายุที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพ คณะพยาบาลศาสตร์. [วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่)]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ญาณี แสงสาย. (2561). ความต้องการบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลในจังหวัด อุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี, 78-86.
ณิชา แดงอุบล สุจิตราจันทวงษ์ และประยงค์ นะเขิน. (2556). ปัจจัยที่ มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัด
นครปฐม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(50), 95-112.
ปภัชญา คัชรินทร์. (2561). ความต้องการและระดับความต้องการด้านสวัสดิการทางสังคมเศรษฐกิจและสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ชนบทประเทศไทย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15(1), 85-92.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
(2563). ในสวัสดิการผู้สูงอายุ (หน้า. 58-61). นครปฐม: กันยายน 2563.
เมธิณี อินทรเทศ วินัยลี สมิทธิ์ ธีรพล ทิพย์พยอม และนิลวรรณ อยู่ภักดี. (2562). ความเป็นธรรมด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย
ภายใต้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 13(2), 157-174.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2563). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของ
ทาโรยามาเน่และเครทซี-มอร์แกน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(5), 11-28.
วาสนา สิทธิกัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง
อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2540). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8
พ.ศ. 2540-2544. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด อุบลราชธานี (HDC). 2563. ปิรามิดประชากร เขตสุขภาพที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี อำเภอน้ำขุ่น ปี 2563 วันที่ 12 มกราคม 2564 จาก https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/
report.php?source=populationpyramid.php&cat_id=ac4eed1bddb23d6130746d62d2538fd0&id=db4e8d42e1234a75bd03d430c31feb2f
อภิชัย คุณีพงษ์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี.
วารสารกรมการแพทย์, 44(5), 75-80.
Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and
Psychological Measurement. 30(3), 607-610.