อิทธิพลของทักษะผู้ตรวจสอบยุคดิจิทัลที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
คำสำคัญ:
ทักษะผู้ตรวจสอบยุคดิจิทัล, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน, การสอบบัญชี, สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของทักษะผู้ตรวจสอบยุคดิจิทัลที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน 345 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตร Taro Yamane เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบสอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
ทักษะผู้ตรวจสอบยุคดิจิทัลที่มิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมากที่สุดคือ ทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์ รองลงมาคือ ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทักษะทางปัญญา และทักษะเทคนิคเฉพาะเกี่ยวกับวิชาชีพ โดยทักษะทั้ง 4 มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ทั้งทางด้านคุณภาพ ด้านปริมาณของงาน ด้านความทันเวลา และด้านค่าใช้จ่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กานต์พิชชา กนทะเนตร. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายบริการโรงแรมแกรนด์สุขุมวิท กรุงเทพ. [วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
เกสรา ศักดิ์มณีวงศา. (2561). การเตรียมความพร้อมให้กับองค์กรยุคดิจิตอล. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ.
นริศรา ธรรมรักษา. (2563). ผลกระทบของทักษะในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานการตรวจสอบภายในของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่จังหวัดเลย. [การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
เพ็ญนภา เกื้อเกตุ, ภูริชาติ พรหมเต็ม และวิโรจน์ ไพบูลย์เวชสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นมืออาชีพของนักบัญชียุคดิจิทัลและประสิทธิภาพการดำเนินงานของกิจการห้างหุ้นส่วนจำกัดในจังหวัดยะลา. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 161
วสันต์ ครองมี, ปุณยวีร์ ยังดี และพุฒิสรรค์ เกตุมรรค. (2563). ผลกระทบของทักษะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีต่อความสำเร็จในการทำงาน ของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบริการด้านบัญชี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2(1), 81-82
วิไลลักษณ์ เอี่ยมจตุรภัทร และ วชิระ บุณยเนตร. (2562). การประยุกต์โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อการตรวจสอบบัญชี. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี. 1(2), 26
ศรีสุดา อินทมาศ. (2562). โอกาสข้ามผ่านกรอบความคิดเดิมสู่โลกใหม่สายอาชีพนักบัญชียุคดิจิทัล. สืบค้นวันที่ 1 มีนาคม 2565 จาก http://www.fap.or.th/upload/9414/zsBw8qK7fy.pdf.
ศูนย์พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ. (2561). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล. สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2565 จาก https://www.sbdc.co.th
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2563). คลังความรู้ : สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. สืบค้นวันที่ 1 มีนาคม 2565, จาก https://www.audit.go.th/sites/default/files/files/article/2_Moscow%20Declaration_content.pdf
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2564). ข้อมูลทั่วไปข้าราชการ. สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน.
เอเอ็ม ออดิท กรุ๊ป. (2565). ความสำคัญของการตรวจสอบบัญชี. สืบค้นวันที่ 1 มีนาคม 2565, จาก
https://www.amauditgroup.com/th/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3.
Davis, F.D. (1986). A technology acceptance model for empirically testing new end-user information systems. [Theory and results Doctoral dissertation] Massachusetts Institute of Technology.
Peterson, E. & Plowman, E. (1989). Business Organization and Management. Richand D. Ewin, Hom wood Illinois
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rded. New York: Harper and Row Publications.